ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, สตรีตั้งครรภ์, เบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิดเอ วันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน อายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ มารับบริการแผนกหน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 127 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 6 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้เกี่ยวกับโรคและความรุนแรงของโรคเบาหวานชนิดเอ วัน การจัดการตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน การปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยบริการฝากครรภ์กับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า CVI ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 และ ทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาคของแบบสอบถามทั้งฉบับ ได้เท่ากับ 0.80
ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 2.60, SD. = .25) ปัจจัยระบบบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ (F= 5.708, P= .001) และกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรสที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =-.183, p = .04) การรับรู้เกี่ยวกับโรคและความรุนแรงของโรคเบาหวานชนิด เอ วัน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน (r = 1.61, p = .070) และการจัดการตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน ของสตรีตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .535, p < .001) ปัจจัยระบบระหว่างบุคคล พบว่าการปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .302, p = .001) และสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน (r = .054, p = .547) และปัจจัยระบบสังคมพบว่าการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยบริการฝากครรภ์กับสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.185, p=.038)
จากผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด เอ วัน ควรส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเน้นการจัดการตนเองของสตรีตั้งครรภ์ การปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยฝากครรภ์กับสตรีตั้งครรภ์
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น