ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • สุรีย์พร โพธิ์ช่วย นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชราพร เกิดมงคล ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิชัย จันทร์ศรีวงศ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

แบบจำลองการปรับตัวของรอย, การปรับตัว, คุณภาพชีวิต, มะเร็งเต้านม, เคมีบำบัด

บทคัดย่อ

     มะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดส่งผลต่อการปรับตัวทางด้านร่างกายและจิตใจ และมีผลต่อคุณภาพชีวิต การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยประยุกต์แบบจำลองการปรับตัวของรอยเป็นกรอบแนวคิด เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศหญิง ระยะที่ I – IIIA ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดครั้งแรก สูตร AC (Adriamycin ร่วมกับ Cyclophosphamide) ที่หน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 24 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาระหว่างกัน กิจกรรมมีทั้งหมด 6 ครั้ง เป็นการส่งเสริมการปรับตัวรายบุคคล 4 ครั้ง และใช้โทรศัพท์เพื่อติดตามและส่งเสริมการปรับตัว 2 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์โดยผู้วิจัย เครื่องมือคือแบบประเมินการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดและแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม version 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test for Independent Sample และ Repeat Measure ANOVA

     ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยการปรับตัวโดยรวมในระยะติดตามของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมระยะหลังทดลองและติดตามผลของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยเสนอแนะว่าพยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปรับตัวและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้

References

1. American Cancer Society. Breast cancer facts & figures 2017-2018. Atlanta: American Cancer
Society; 2017.

2. Imsamran W, Chaiwerawattana A, Wiangnon S, Pongnikorn D, Suwanrungruang K, Sangrajrang S, et al. Cancer in Thailand Vol.VIII, 2010–2012. Bangkok: New Thammada Press; 2015. (in Thai).

3. Wongjunlongsin S. CA breast. In: Sirilerttrakul S, Wongjunlongsin S, Ariyaprayoon P, Chichacharus M, editors. Nursing care of cancer patients. Samutprakan: Sinthawikit; 2012. p. 73-93. (in Thai).

4. Begum MSN, Petpichetchian W, Kitrungrote L. Symptom experience and quality of life of patients with breast cancer receiving chemotherapy in Bangladesh. Bangladesh Journal of Medical Science 2016;15:201-6.

5. Phuangsamai P, Choowattanapakorn T, Chimluang J. The relationships between age, education, uncertainty in illness, sense of coherence, social support and adaptation in breast cancer patients receiving chemotherapy.
Journal of The Police Nurse 2015;7(2):189-200. (in Thai).

6. Wongjunlongsin S, Sumdaengrit B. Symptom cluster in breast cancer patients receiving chemotherapy: a longitudinal study approach. Journal of Nursing and Health Care 2015;33(2):122-31. (in Thai).

7. Prasertsri T, Tareepian N. Health promoting behaviors and quality of life in patients with breast cancer receiving chemotherapy. Journal of Nursing and Health Care 2015;33(2):92-101. (in Thai).

8. Salonen P, Lehtinen PL, Tarkka MT, Koivisto AM, Kaunonen M. Changes in quality of life in patients with breast cancer. Journal of Clinical Nursing 2010;20:255-66.

9. Suriyunt S, Deoisres W, Chaimongkol N. Factors influencing quality of life of breast cancer patients receiving chemotherapy: a causal model. Journal of Nursing and Health Care 2015;33(4):131-40. (in Thai).

10. Roy SrC. Introduction to Nursing: an adaptation Model: the definitive statement. 2nd ed. Newjersey: Prentice-Hall; 1984.

11. Cella DF, Tulsky DS, Gray G, Sarafian B, Linn E, Bonomi A, et al. The functional assessment of cancer therapy (FACT) Scale: Development and validation of the general measure. Journal of Clinical Oncology 1993;11(3):570-9.

12. Roy SrC, Andrews HA. The Roy adaptation model. 2nded. California: Appleton & Lange; 1999.

13. Khumthawiporn P. Oncology nursing: prevention and caring. Bangkok: Hayabusa graphic; 2010. (in Thai).

14. Salonen P, Tarkka MT, Kellokumpu LPL, Koivisto AM, Astedt KP, Kaunonen M. Individual face-to-face support and quality of life in patients with breast cancer. International Journal of Nursing Practice 2011;17:396–410.

15. Roy SrC, Andrews HA. The Roy adaptation model: yhe definitive statement. 2nd ed. California: Appleton & Lange; 1991.

16. Mautsa T, Danyuthasilpe C, Tangkawanich T, Pachanban P. Effects of Roy theory nursing program on adaptation behavior and dyspnea in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Journal of Nursing and Health Sciences 2016;10(2):190-200. (in Thai).

17. Thongrung S, Suntayakorn C, Juntarawijit Y, Prachanban P. The effects of adaptation program on activities of daily living and quality of life among stroke patients. Journal of Nursing and Health Sciences 2013;7(3):88-97. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-28