ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในสถานประกอบการอาหารทะเล จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • อนงค์นาถ ประกอบสุข นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน(ภาคพิเศษ) ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นฤมล เอื้อมณีกูล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรินธร กลัมพากร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขอนามัย, แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา, สถานประกอบการอาหารทะเล

บทคัดย่อ

     แรงงานต่างด้าวถือเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อ การมีพฤติกรรมในการดูแลสุขอนามัยที่ดีซึ่งเป็นพฤติกรรมพื้นฐานสำคัญสามารถช่วยลดการเกิดโรคติดต่อได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในสถานประกอบการอาหารทะเลในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่ทำงานในสถานประกอบการอาหารทะเลในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 370 ราย คัดเลือกโดยวิธีการวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติไคสแคว์ (Chi-square) และสถิติวิเคราะห์แบบถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression)                                                                                 

     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการดูแลสุขอนามัยในระดับดี ร้อยละ 79.2 (Mean = 32.46, SD. = 1.45) และพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัย ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัย  การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดูแลสุขอนามัย นโยบายส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ การเข้าถึงบริการสุขภาพและสื่อสุขภาพ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ในสถานประกอบการอาหารทะเล จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 ) ผลวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิพบว่า การรับรู้นโยบายส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ(ORadj= 2.85, 95%CI= 1.42-5.75) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยมากที่สุด  รองลงมาคือ การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดูแลสุขอนามัย (ORadj= 2.30, 95%CI= 1.14-4.65), การเข้าถึงบริการสุขภาพและสื่อสุขภาพ (ORadj= 2.19, 95%CI= 1.09-4.42) และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (ORadj= 2.04, 95%CI= 1.04-4.03)

     จากผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างเสริมความตระหนักให้เกิดขึ้นเกี่ยวกับการมีพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยที่ดีในแรงงานต่างด้าว และส่งเสริมให้องค์กรมีนโยบายหรือมาตรการที่ดูแลเกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยของแรงงานในแต่ละสถานประกอบการ เพื่อให้แรงงานมีพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยที่ดีอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป

References

1. Foreign Workers Administration Office. Monthly statistics data: December 2018 [Internet]. 2018 [cite 2019 Jan 18]. Available from: https://www.doe.go.th. (in Thai).

2. Health Systems Research Institute. Research policy of 2019 [Internet]. 2019 [cite 2019 Jan 10]. Available from: https://www.hsri.or.th. (in Thai).

3. Policy and Planning Division. Impact of providing health services to workers Foreigners of hospitals under the jurisdiction of Bangkok [Internet.2016 [cite 2019 Jan 19]. Available from: http://cpd.bangkok.go.th. (in Thai).

4. Health Administration Division. A Guide to Friendly Services for Migrant Workers, Followers and Victims of Human Trafficking [Internet]. 2018 [cite 2019 Jan 19]. Available from: https://phdb.moph.go.th. (in Thai).

5. Suthirawut T. Public Health Operations for Foreign Workers [Internet]. 2014 [cite 2019 Jan 18]. Available from: http://www.boe.moph.go.th. (in Thai).

6. Sirilak S. Model of health insurance and health management in migrant workers and followers. Bangkok: National Defense College; 2015. (in Thai).

7. Phoomchaichote T. Health insurance decision making of Myanmar migrant workers in Samut Sakhon province as announced by the Ministry of Public Health 2014. Online Journal of Health and Public Health Law 2017;16-30. (in Thai).

8. Samut Prakan Employment Office. Monthly statistics data: July 2019 [Internet]. 2019 [cite 2019 Dec 20]. Available from: http://www.samutprakan.mol.go.th. (in Thai).

9. Bureau of Food and Water Sanitation, Department of Health. Food Sanitation Program Guide for Touchers Food and food enterprises. Bangkok: Ministry of Public Health; 2014. (in Thai).

10. Ayuwat D, Mananawong A, Rattanakul S. Health status and services of Laos migrant workers in the agricultural production region of Isan. Online Journal of Public Health 2013;43(1):4-16. (in Thai).

11. Riemrimadan Y, Khamsi S. Factors related to health promotion behaviors of foreign workers in Chachoengsao province. Online Journal of Academic Affairs 2018;21(42):79- 91. (in Thai).

12. Bureau of Environmental Health, Department of Health. Guidelines for alien community sanitation management. Bangkok: Ministry of Public Health; 2016. (in Thai).

13. Green LW, Kreuter MW. Health program planning: an educational and ecological approach. New York: McGraw–Hill; 2005.

14. Daniel WW. Biostatistic: a foundation for analysis in the health sciences (8thed.). USA: John Wiley & Sons; 2005.

15. Abdul-Mutalib NA, Abdul-Rashid MF, Mustafa S, Amin-Nordin S, Hamat RA, Osman M. Knowledge, attitude and practices regarding food hygiene and sanitation of food handlers in Kuala Pilah, Malaysia. Food Control 2012;27(2):289-93.

16. Saengpetch Y. Factors affecting health promotion behavior of male elderly workers in establishments, Samut Prakan province [master’s thesis]. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2007. (in Thai).

17. Peng Y, Chang W, Zhou H, Hu H, Liang W. Factors associated with health seeking behavior among migrant workers in Beijing, China. BMC Health Services Research 2010;10(1):69:1-10.

18. Manotam O, Parinyanakul S, Sri-arporn P. Postpartum health behavior of Laotian women in rural areas and related factors. Online Journal of Nursing Journal 2014;41(3):35-47. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-28