ผลการใช้สื่อวิดิทัศน์ เรื่องการเช็ดตา หยอดตาและป้ายตาสำหรับการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
คำสำคัญ:
การวิจัยกึ่งทดลอง, การเช็ดตา, การหยอดตาและป้ายตาบทคัดย่อ
บทนำ: การพยาบาลจักษุเป็นการพยาบาลที่สำคัญเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อและตาบอดตามมาได้ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวิธี ดังนั้นสื่อวิดิทัศน์ เรื่องการเช็ดตา การหยอดตาและการป้ายตา จะทำให้นักศึกษาพยาบาลมีความรู้และเข้าใจการทำหัตถการก่อนฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยและสามารถสอนผู้ป่วยและญาติเพื่อกลับไปปฏิบัติที่บ้านได้ถูกต้องอีกด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อวิดิทัศน์ เรื่องการเช็ดตา การหยอดตาและการป้ายตาสำหรับการ ปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ใช้กระบวนการพัฒนาสื่อแบบ ADDIE Model ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน พ.ศ. 62 ประกอบด้วย ขั้นการพัฒนาสื่อวิดิทัศน์ และ ขั้นประเมินประสิทธิภาพสื่อโดยการสอบทักษะปฏิบัติ และ ความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คนได้มาจากการคัดเลือกนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ที่ฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยจักษุ และหู คอ จมูก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อการสอนเรื่องการเช็ดตา หยอดตาและป้ายตาซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพสื่อวีดิทัศน์และด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการเรื่องการเช็ดตา หยอดตา มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ของแอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.93 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อสื่อการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย: 1) คุณภาพของสื่อวิดิทัศน์และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเรื่องการเช็ดตา การหยอดตาและการป้ายตา มีค่าดัชนีความสอดคล้องชองรายการประเมิน เท่ากับ 0.6-1.00 2) ผลการสอบทักษะการปฏิบัติการเช็ดตา หยอดตา พบว่านักศึกษามีความรู้และทักษะในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 75 มีความรู้และทักษะในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 10 มีความรู้และทักษะในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 5 มีความรู้และทักษะในระดับควรปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 10 3) ความพึงพอใจต่อสื่อวิดิทัศน์โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.75 (SD= .31) และความพึงพอใจรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ ด้านส่วนประกอบทั่วไปของสื่อ ด้านภาพประกอบและด้านเสียงภาษา สรุปผล: สื่อวิดิทัศน์ เรื่องการเช็ดตา การหยอดตาและการป้ายตา มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการเรียนการสอนนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล ข้อเสนอแนะ: จากการวิจัยพบว่าสื่อที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ นักศึกษาพยาบาลควรนำไปใช้ในการทบทวนความรู้ด้วยตนเอง และสามารถใช้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทักษะก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย
Downloads
References
Lilawong S. Six New Normal for Nurses. [cited 2019 July 14] Available from https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/880137.
Raksatham S, Rangsa J, Udomsap W. Chermworaphipat S. The effectiveness of integrated nursing care of persons with health problem and practicum 2 courses among nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 2016.
Panid V. Teacher skill for student in 21 st century. [Internet] 2010. [cited 2019 June 4] Available from http://www. gotoknow.org/blog/thaikm/414362
Buranasak J, Limruangrong P, Pungbangkadi R. The effect of using computer aided instruction. Pregnancy test of knowledge, skills and satisfaction of nursing students. Journal of the Army Nurses 2014;15(3):61-70
Leelawong K. Concepts in public health ophthalmology. Thai Journal of Public Health Ophthalmology 2009;2(1):49-55.
Wongwanich S. Action research in the classroom. Bangkok: Chulalongkorn University; 2003.
Paowana V. Effectiveness of video media on vaginal douching in nursing practice course for people with health problems 3, Boromarajonani College of Nursing, Udon Thani. Journal of Nursing and Health Care 2014;31(3):99-106. (in Thai).
Raksaitham S, Watanachai P. Video development of oxygen therapy in children for nursing students Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Bangkok 2018.
Lohapaibunkun N, Phalakan B. The effect of using the OSCEs exam format to assess clinical knowledge and skills in primary care and perceptions of teacher mentors on clinical skills of students. Journal of Nursing, Ministry of Public Health 2010;(1):24-34.
Chearakun N, Khachinthon U, Peerawattanawat R, and Narumman C. Clinical Skills can develop better than theoretical knowledge after training as a home doctor Internal Medicine. Medical Record Siriraj 2009;2:116.
Kawiwitwichai C et all. Computer lesson development multimedia teaching that integrates anatomical knowledge and physiology to promote the skills of nursing students in adult physical examination: head and neck examination 2013;19(3):428-43.
Lunggris C. The development of video for learning based on the flipped classroom concept on physical examination health assessment course, Rajamangala University of Technology Thanyaburi; 2016
Somnuek P. The development of innovative teaching and learning using video media. To increase learning achievement "Travel products. Journal of Tourism 2015;11(1):4-17.
Photaworn P, Wongpradit S. The effect of using video media to practice meditation by breathing on stress in exams after practicing for nursing mothers and midwives 2 of nursing students. EAU Heritage Journal Science and Technology 2017;27(1):126-34.
Raksaitham S, Watanachai P. Video development of oxygen therapy in Children for Nursing Students Boromarajonani College of Nursing, Bangkok; 2018.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น