ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อดัชนีมวลกายและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • วิดาพร ทับทิมศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • จินตนา รังษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

คำสำคัญ :ส่งเสริมสุขภาพ, ดัชนีมวลกาย, พฤติกรรมสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: การส่งเสริมสุขภาพมีประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมเมื่อได้รับคำแนะนำตามทฤษฎีทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดี วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อดัชนีมวลกายและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (two group pretest-posttest design) ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ถึง กันยายน พ.ศ. 2563 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยคัดเลือกนักศึกษาที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 22.9 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ที่มีคุณลักษณะไม่แตกต่างกัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่ได้ประยุกต์จากแนวคิดของเพนเดอร์ ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ การให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ อาหารสุขภาพ การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพจำนวน 45 ข้อ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.94 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที (Paired t-test และ Independent t-test) ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและควบคุมก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ (mean= 164.13, SD.= 13.17 และ mean= 164.83, SD.= 11.94) และค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ( = 26.46, SD.= 4.63 และ mean = 26.93, SD.= 3.36) ตามลำดับ โดยทั้ง 2 ตัวแปรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนหลังการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมทั้งหมด (mean =183.80, SD=13.17) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (mean = 170.20, SD.= 11.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = 3.45, p <.001) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (mean = 25.28, SD.= 4.06) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (mean =27.53, SD.=3.47) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t= 2.30, p= .02) สรุปผล: การศึกษาครั้งนี้สนับสนุนว่าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมสุขภาพดี และค่าดัชนีมวลกายดีขึ้น ข้อเสนอแนะ: ควรนำโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพนี้ไปใช้กับนักศึกษาพยาบาลหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น

Author Biography

วิดาพร ทับทิมศรี , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

การทดสอบและวัดประเมินผล ปร.ด.มศว ประสานมิตร

การพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ พย.ม. เชียงใหม่

References

Executive Committee for the Formulation of the National Health Development Plan, Ministry of Public Health. National health development plan issue 12 (2017 - 2021). The War Veterans Organization of Thailand. October 2016; (in Thai)

Sakolsatayathorn, P. Looking at the future of Thai health in 2018 with changing public health policies. [internet]. 2018 (cited 2019 Dec 25); Available from: https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_786690. (in Thai)

World Health Organization (WHO). Noncommunicable diseases. [internet]. 2018 (cited 2019 Dec 25); Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicablediseases

Danyuthasilpe C. Pender’s health promotion model and its applications in nursing practice. Songklanagarind J Nurs.. 2018;38(2):132-41. (in Thai).

Lattanand K, Ninwatcharamanee C. Health literacy of nursing students at Boromarajonani College of Nursing Bangkok. JHNR 2019; 35(1):277-89. (in Thai)

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 4th (ed). New Jersey :

Pearson Education, Inc; 2002.

Committee of department of health. Handbook of good health. [internet]. 2020 (cited 2020 Aug 26); Available from: http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/files/pdf

Purakom A, Kaewmahingsa Y. Health promoting behaviors of undergraduate students at Kasetsart University, Kamphaengsaen Campus National Symposium Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus No. 10; 2013. (in Thai)

Wiersma EW, Jurs SG. Research methods in education: An introduction, 8th Edition. 2002.

Danyuthasilpe C. Pender’s health promotion model and its applications in nursing practice. Songklanagarind J Nurs. 2018;38(2):132-41. (in Thai)

Khodaveisi M, Jafari A, Omidi A, Roshanaei G, Sazvar A. the effect of a Pender’s health promotion model based educational intervention on physical activity in office staff. [internet]. 2020 (cited 2020 Aug 26); Available from: https://nursinganswers.net/essays/penders-health-promotionmodel. php?vref=1

Khodaveisi M, Omidi A, Farokhi S, Soltanian AR. The effect of Pender’s health promotion model in improving the nutritional behavior of overweight and obese women. IJCBNM. 2017 Apr; 5(2):165–74.

Heetaksorn C, Sarakshetrin A, Kwanchum R, Yuychim Y. The effects of using a health promotion program among sellers at the Kobkhan Fresh Market in Suratthani, Thailand The Southern College Network. JNPH 2017;s:91-101.

Khampeng S, Boonpradit A. The effects of using health promotion program and social support among people with hypertension in Donpud District, Saraburi Province, Thailand Nursing. NJPH 2012;22(3):112-23. (in Thai)

Songwatthanayuth P, Watthanakorn K, Klainhom K, Ratanapak P. Development of health behavior promotion program among pre-hypertension adults in Nong-Plub, Phetchaburi Province. JHNR 2016;32(2):105-18. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-13