พยาบาลพี่เลี้ยงในศตวรรษที่ 21 : แนวทางการพัฒนาเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

ผู้แต่ง

  • นันทกา สวัสดิพานิช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนในคลินิก, พยาบาลพี่เลี้ยง, ผลการเรียนรู้, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

        ในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษา โดยการศึกษาระดับอุดมศึกษามุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความเชี่ยวชาญตามสาขาวิชาการ หรือวิชาชีพที่ตนถนัด  ปัจจุบันการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์เน้นความสำคัญที่ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต การออกแบบการเรียนการสอนให้ตอบสนองกับบริบทและความต้องการของผู้เรียนจึงถือเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะการสอนภาคปฏิบัติที่ต้องปฏิบัติโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์ต้องออกแบบวิธีการสอน การวัด และการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ในทุกด้านทั้งคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ เนื่องด้วยปัญหาการขาดแคลนอาจารย์พยาบาล พยาบาลพี่เลี้ยงจึงเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนานักศึกษาเพื่อช่วยพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ ที่ผ่านมาพยาบาลพี่เลี้ยงส่วนใหญ่ได้รับการอบรมหรือพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาล แต่ดูเหมือนว่าการพัฒนาศักยภาพพยาบาลพี่เลี้ยงนั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้พยาบาลพี่เลี้ยงเกิดความมั่นใจในการสอนในคลินิกและการประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานของผู้เรียน อีกทั้งระบบพยาบาลพี่เลี้ยงยังไม่เอื้อให้พยาบาลทำหน้าที่พี่เลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์  บทความนี้จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับความสำคัญของพยาบาลพี่เลี้ยงในการพัฒนานักศึกษาให้บรรลุผลการเรียนรู้ สมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยงในศตวรรษที่ 21 และแนวทางการพัฒนาพยาบาลพี่เลี้ยงในศตวรรษที่ 21  ดังนั้นหากพยาบาลพี่เลี้ยงได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับทิศทางของการจัดการศึกษาจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ของรายวิชาและหลักสูตรตามที่คาดหวังได้

References

1. The Higher Education Act. Published in the Government Gazette, Vol.136, Part 57a, Page 54-78, dated 1st May B.E. 2562 (2019). (in Thai).

2. Yamnoon S. Role of audit office under the Higher Education Plan 20 years (B.E. 2560-2579) [Internet]. 2017. [cited 2020 Apr 5]. Available from: www.bme.mua.go.th2/wp-content/uploads/2017/10/ME-in-20-yrs.pdf. (in Thai).

3. Jinruang S, Naraphong W, Nithitantiwat P. Outcome-based education in nursing science. Journal of Phrapokklao Nursing College 2018;29(2):207-16. (in Thai).

4. Kanmali Y, Suikraduang A. Role of nurse preceptor, socialization, and learning management in practice. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima 2017;23(1):124-30. (in Thai).

5. Santwanpas N, Chawajaroenpan W, Sirisupluxana P. The impact of using nurse preceptor system for nursing students on leadership, team work, happiness and humanized care in Nursing Administration Practicum. Journal of Health Science Research 2016;10(2):105-14. (in Thai).

6. Joubert A, De Villiers J. The learning experiences of mentees and mentors in a nursing school’s mentoring programme. Curationis 2015;38(1):1145-51.

7. Nateetanasombat K, Namjuntra R, Punthasee P, Luengwilai I. Clinical teaching of preceptors and directions for preceptorship development, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University. HCU Journal of Health Science 2015;19(37):71-88. (in Thai).

8. Bandansin J, Poonchai S, Saisamorn C, Kanglee K. Practices in preceptor’s role of professional nurses in the training places of the royal Thai Army Nursing College. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2015;16(3):32-41. (in Thai).

9. Plodpluang U. Competencies of preceptor. Princess of Naradhiwat University Journal 2016;8(3):168-74. (in Thai)

10. Phaktoop M, Saradhuldhat G. Shortage and Retention of Nurse Educators in Education Institutions. Journal of Nursing and Education 2018;11(3):1-9. (in Thai)

11. Jamjan L, Pomisrikaew S. Trend of using nurse preceptor for enrichment learning for the learner. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2015;19(Suppl):34-8. (in Thai).

12. Thailand Nursing and Midwifery Council. Core Course of preceptorship training for nurses. Published 7 June B.E.2556 (2013) (in Thai).

13. Saraketrin A. Rongmuang D. Chantra R. Nursing education in the 21st century: competencies and roles of nursing instructors. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2019;20(1):12-23. (in Thai).

14. Wongsaree C. Clinical teaching in Adult Nursing Practicum Course for generation Z collegian. Journal of Boromarajonni College of Nursing, Bangkok 2015;31(2):130-40. (in Thai).

15. Wankaew B, Cheevakasemsook A, Likhitluecha N. The development of a nurse preceptor model for new graduate generation Y nurses at Vajira hospital. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2018;19(sup):392-402. (in Thai)

16. Thai Qualifications Framework for Higher Education. Published in the Government Gazette, Vol. 135, Part 1d, Page7, dated 3rd January B.E.2561 (2018). (in Thai)

17. Teacupta P, Yindeesuk P. Lesson learned in century 21. Bangkok: Chulalongkorn University Printing; 2014. (in Thai)

18. Woodley LK. Clinical teaching in nursing. In: Oermann MH, editor. Teaching in nursing and role of the educator: The complete guide to best practice in teaching, evaluation, and curriculum development. New York: Springer Publishing Company, LLC; 2015. p.141- 61.

19. Sinthuchai S, Dejpituksirikul S, Yoksuriyan P. Reflective practice in nursing education. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018;19(2):15-23. (in Thai).

20. Phuma-Ngaiyaye E, Bvumbwe T, Chipeta MC. Using preceptors to improve nursing students’ clinical learning outcomes: a Malawian students’ perspective. International Journal of Nursing Sciences 2017;4:164-8.

21. Thanomlikhit C, Kheawwan P. Nurse residency coordinator: an important role for professional nursing development. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice 2018;5(2):96-110. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02