ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาชุมชนแออัดแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ มหาโคตร นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • จริยาวัตร คมพยัคฆ์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุในชุมชนแออัด, การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้สมรรถนะของตนเอง, อิทธิพลระหว่างบุคคล, พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยการวิจัยส่วนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนแออัด แห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านแบบ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำนวน 87 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดสอบได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค ทั้งฉบับเท่ากับ .742 และ .743  ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาและค่าสัมประสิทธ์สหสัมพนธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman’ rho (rs)

     ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมในระดับดี (Mean = 3.15,        SD. = 0.27) และปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพ (rs =.588, p< .001) ด้านการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อการสร้างเสริมสุขภาพ (rs =.547, p< .001) และ ด้านอิทธิพลระหว่างบุคคลต่อการสร้างเสริมสุขภาพ (rs =.569, p< .001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนแออัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. United Nations Population Fund. Ageing in the Twenty-First Century: A Celebration and A Challenge. 1st ed. New York: UNFEA; 2012

2. Thai Elderly Research and Development Institute Foundation. Annual report Situation of the Thai Elderly, 2012. Nonthaburi: SS Plus Media; 2012. (in Thai).

3. Skulpunyawat S. Health promotion behaviors of Muslim elders in case of Okarak district Nakornnayork province. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(3):353-60. (in Thai).

4. Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. Boston: Pearson; 2006.

5. Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 6thed. New Jersey: Pearson Education Inc; 2011.

6. Lokawit K. Health status and health promoting behaviors of the elderly in Pathumthani province. Academic Journal, Pathum Thani University 2013;5(1):194-203. (in Thai).

7. Thanakwang K, Kespichayawattana J, Jitpanya C. Factors related to health promotion behaviors among older persons: a meta-analysis. Journal of Nursing Science 2010;28(3):60-8. (in Thai).

8 Bujang AM. Baharum N. Sample size guideline for correlation analysis. World Journal of Social Science Research 2016;3(1):37-46.

9. Jitaphankun S. Principles of geriatric. Bangkok. Chulalongkorn University Printing; 1998.

10. Department of Mental Health. Guidelines for surveillance of depression at the provincial level. 3thed). Department of Mental Health, Ministry of Public Health; 2014 .

11. Akoglu H. User’s guide to correlation coefficients. Turkish Journal of Emergency Medicine. 2018;18:91-93.

12 Kuhirunyaratn P, Ratanasiri A, Jindawong B, Natiboot P, Watchanapan L, Junthakhun C, et al. Health promotion behaviors of elderly living in an urban community of Khon Kaen province. Srinagarind Med J 2018;33(2):153-60. (in Thai).

13 Phairawong C, Decha C, Yaengkathok S, Chaisiri P, Sattayawongthip W. Factors related to health care behavior among the elderly, Ban Mai Sub-district, Mueang district, Nakhon Ratchasima province. Academic Journal Suvarnabhumi Institute of Technology 2018; 4(1): 380-93. (in Thai).

14 Jariyasakulwong P, Charoenkitkarn V, Pinyopasakul W, Sriprasong S, Roubsanthisuk W. Factors influencing on health promoting behaviors in young adults with hypertension. Princess of Naradhiwas University Journal 2015;7(3):26-36. (in Thai).

15 Konkaew P, Suntayakorn C, Prachanban P, Wannapira W. Factors predicting health promoting behaviors among civil servants with dyslipidemia. Journal of Nursing and Health Sciences 2011;5(3):17-28. (in Thai).

16 American College of Sports Medicine. ACSM’s guidelines for exercise testing and prescription. 8thed. Baltimore: Lippincott Williams & Wilkins; 2009.

17 American College of Sports Medicine. ACSM’s health-related physical fitness assessment manual. 2nded. Baltimore: Lippincott Williams & Wilkins; 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02