การตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อนุกูล หุ่นงาม นิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บุรณี กาญจนถวัลย์ รองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, คงอยู่, องค์กรของรัฐ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

จากปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลในภาครัฐ ส่งผลให้การบริการด้านสุขภาพไม่ทั่วถึง และเกิดอุปสรรคในการทำงาน นักศึกษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกผลิตเพื่อเป็นบุคลากรในอนาคต ที่มีอิทธิพลในการคงอยู่ในองค์กรของรัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาอัตราของการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 226 คน แบบวัดที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลด้านบุคคล  ด้านครอบครัว สังคม และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงพหุคูณ      
            ผลการวิจัยพบว่า องค์กรที่นักศึกษาตัดสินใจเลือกหลังจบการศึกษาคือ องค์กรราชการ มีอัตราการคงอยู่ ร้อยละ 65.9 และปัจจัยด้านองค์กรมีผลต่อความคิดเห็นด้านการคงอยู่ในองค์กรรัฐอยู่ในระดับสูง (Mean = 3.84, SD. = 0.35) โดยเฉพาะในด้านองค์กรที่ตัดสินใจเลือกต้องก่อให้เกิดการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ (OR = 1.70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยด้านครอบครัวมีผลต่อความคิดเห็นด้านการคงอยู่ในองค์กรรัฐอยู่ในระดับสูง (Mean = 3.78, SD. = 0.63) โดยปัจจัยในภาพรวมด้านครอบครัว (OR = 2.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยด้านเพื่อนมีผลต่อความคิดเห็นด้านการคงอยู่ในองค์กรรัฐอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.24, SD. = 0.55) จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากและเห็นได้ชัดเจน ที่มีผลต่อการคงอยู่ในองค์กรของรัฐ คือ ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านองค์กร ตามลำดับ

 

References

1. World Health Organization. Global strategy on human resources for health: Workforce 2030. Geneva: WHO; 2016.

2. Division of Personnel MoPH. Human resource planning[Internet]. 2006 [cited 2019 September 29]. Available from: https://hr.moph.go.th/site/hr_moph/25622006. (in Thai).

3. Wongsunobparat B, Pipatnanon P, Waisheeta S. Job satisfaction of occupational retention of professional nurses working in government hospitals under the Ministry of University Affairs and the Ministry of Public Health. Ramathibodi Nursing Journal 2005;3:251-65. (in Thai).

4. Fahamnuaypon P, Akajumpaka P, Watanamanoo N. Thailand Health Profile 2551-2553. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand publishing; 2011. (in Thai).

5. Sousa A, Scheffler RM, Nyoni J, Boerma T. Comprehensive health labour market framework for universal health coverage. Bull World Health Organ 2013;1:892-4.

6. Waisriseang J. Factors affecting decision making of undergraduate students in public and private university on occupation selection in Bangkok: National Institute of Development Administration; 2009. (in Thai).

7. Urairak B. Factors affected intention to stay in nursing professional of police nursing students. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2016;17(3):99-106. (in Thai).

8. Chiwarak C. Relationships between personal background, motivation, college environmental satisfaction and self-integration with professional commitment of nursing students [Master's degree]. Bangkok: Chulalongkorn University; 1996. (in Thai).

9. Topanthanont S. Factors influencing retention of nursing employees, government university hospitals[Master's degree]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2006. (in Thai).

10. Munsook J. Factors influencing desire to change studying area of nursing students under Ministry of Public Health[Master's degree]. Changmai: Changmai University; 1995. (in Thai).

11. Thongniran N, Intaraprasong B, Pattara-Archachai J. Intention to stay in occupation of registered nurse at a community hospital region 1 : Central, Thailand. Journal of Nursing Division 2015;42(3): 69-83. (in Thai).

12. Hurlock BE. Child development 4th ed. New York: Mc Graw-Hill; 1978.

13. Chaikongkiat P. Factors Predicting job retention of professional nurses at Yala Hospital. Princess of Naradhiwas University Journal 2018;10(1):112-21. (in Thai).

14. Dibble S. Keeping your valuable emloyees. New York: John Wiley and Sons; 1999.

15. Mathis RL, Jackson JH. Human resource management. Edition t, editor. Singapore: South Western; 2004.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02