ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ตันติเอกรัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม, ภาวะน้ำหนักเกิน, นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องน้ำหนักเกิน หลักการบริโภคอาหารและการอ่านฉลากโภชนาการตามสีไฟจราจร หลักการออกกำลังกาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น ไลน์กลุ่ม (Line group)  เพจเฟสบุ๊ค (Facebook page) เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร และการสนับสนุนทางสังคมจากครู ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .81และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ independent sample t–test

     ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวน้อยกว่ากลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 จากผลการวิจัยเสนอแนะว่าพยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพสามารถนำโปรแกรมไปใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักในนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

References

1. World Health Organization. Childhood Overweight and Obesity [Internet]. 2019 [cited 2019 Jan 1]. Available from: http://www.Who.int/dietphysicalactivity/childhood/en/

2. Office of Strategy and Planning. Health data center report system [Internet]. 2019. [cited 2019 Apr 15]. Available from: http://www.rbpho.moph.go.th/hdc.php

3. No-in K. Overweight and obesity among Thai school-aged children and adolescents. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2017;18(suppl.2):1-8. (in Thai).

4. Health Education Division. Assessment of health literacy and health behavior report. Bangkok: Health Education Division; 2017. (in Thai).

5. Sutthiworotatkun N. The relationships between health literacy, family and peer influences and eating behavior of school-age children. In: Kanchanathaweekun K, Sirichit W, Thirawarangkun P, Khunthongkaew S, Nanthamongkolchai S, Chantani A, et al., editors. Proceeding of the 12th National Research Conference and Presentation Subject: “Innovative research Creating Thai economy”; 2018 Jul 7-8; Western University. Pathumthani: Western University; 2018. p. 1-22.

6. Thipwong A, Numpool J. The associations between health literacy related to obesity and health behavior: eating and exercise in overnutritional children, Bangkok. Journal of Public Health Nursing 2014;28(2):1-11. (in Thai).

7. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine Journal 2008;67(12):2072-78.

8. House J. Work stress and social support. California: Addision Wesley; 1981.

9. Bureau of Nutrition. Manual to using height weight criteria for assessing the growth of Thai children. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand; 1999. (in Thai).

10. Sanprik S. The effects of health education program applying self-efficacy theory towards weight control among grade 6 students at Kajonkietsuksa school, Phuket province. Journal of community health development Khon Kaen University 2018;5(2):297-313. (in Thai).

11. Health Education Division. Health literacy scale for Thai childhood overweight. Nonthaburi: Department of Health Service Support, Ministry of Public Health; 2014. (in Thai).

12. Likert R. The method of constructing and attitude Scale. New York: Wiley & Son; 1967.

13. Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.

14. Bureau of Nutrition. Smart kids coacher. Bangkok: Samcharoen Panich; 2017. (in Thai).

15. Poomthavorn P, Nimit-Arnun N, Roojanavech S. The effects of health literacy promoting program for overweight primary school students. Chonburi Hospital Journal 2017;42(2):171-180. (in Thai).

16. Phetkong C, Banchonhattakit P. Effects of health literacy promoting program with social media used on obesity prevention behavior among overweight Mattayomsuksa 2 students. Journal of Health Education 2019;42(2):23-32. (in Thai).

17. Sutin U, Prasred V, Thonglerd P. Effects of a program promoting nutrition label reading on knowledge and behavior of nutrition label reading of students grade 5 at Bothong district, Chonburi province. Apheit Journal 2017;6(2):44-52. (in Thai).

18. Pitaksa P, Tansakul S, Kaeodumkoeng K, Khajornchikul P. Effects of health education program for changing food consumption behavior among grade 6 students Buriram province. Journal of Health Education 2014;37(2):67-81. (in Thai).

19. Pichairat A, Tiparat W. Effects of health alliance program on food consumption and exercise behaviors, and weight of obese school age children in rural area, Trang province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2014;30(3):64-76. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-03