การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุในตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประชาคมโลกมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน คุณภาพชีวิตที่ดีของเขาเหล่านั้นเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องดูแล จึงได้กำหนดนโยบายหลายประการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตดังกล่าว ซึ่งปัจจัยสำคัญ คือ การมีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ ที่สร้างคุณค่าในตนเองและป้องกันภาวะซึมเศร้า ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบความแตกต่างของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม โดยจำแนกตามความแตกต่างของระดับการศึกษา การมีผู้ช่วยเหลือในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และการได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านซับประดู่และบ้านเขาไม้เกวียน ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จำนวน 105 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายและตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การทดสอบค่าทีแบบอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันไม่ทำให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การมีผู้ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่ต่างกันและการได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่ต่างกัน ทำให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลงานวิจัยนี้ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ให้ผู้บริหารและทีมสุขภาพส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จัดหาผู้ช่วยเหลือทางสังคม และจัดสวัสดิการด้านกิจกรรมทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น
References
2. Department of Older Persons, Ministry of Social Development and Human Security. Measures to drive the national agenda on aging society (revised version). 2nd ed. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited; 2019. (in Thai).
3. United Nations Population Fund. Ageing in the twenty-first century: a celebration and a challenge. New York: United Nations Population Fund; 2012.
4. Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Situation of the Thai elderly 2017. Bangkok: Duen Tula Printing Company Limited; 2018. (in Thai).
5. Department of Older Persons, Ministry of Social Development and Human Security. Knowledge self-care and capacity building for the elder persons "learn society". Bangkok: The Institute; 2017. (in Thai).
6. Wongseng W, Jadesadalug V. The role and participation of elders in term of civil society in community development Bangkhae district, Bangkok. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2016;9(1):1399-415. (in Thai).
7. Myer C. Social activity participation of senior citizens in Pathumthani province. Pathumthani University Academic Journal 2009;1:92-108. (in Thai).
8. Prasertpan C, Piaseu N, Maruo SJ, Kittipimpanon K. Activities and outputs of a senior club in an urban community: a case study. Ramathibodi Nursing Journal 2014;20(3):388-400. (in Thai).
9. Wongprom J, Jongwutiwes K, Prasertsuk N, Jongwutiwes N. Community participation in the development of older persons’ quality of life. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2015;8:41-54. (in Thai).
10. Kamnak R, Phanlertphanij S. The model of participation in elderly health promotion of Wat Hua Fai elderly school, San Klang sub-district, Phan district, Chiang Rai province. Social Sciences Research and Academic Journal 2016;11(special):47-61. (in Thai).
11. Aunkamol P. Social participation, self-esteem and life satisfaction of the elderly at Jatuchak district in Bangkok metropolitan. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University 2019;22(1):125-36. (in Thai).
12. Research Management Division. Editors. Factors related to the elderly’s participation in the activities of elderly club of Nhongyang sub-district health promotion hospital, Wungsaipoon district, Phichit province. Naresuan 12th Research: Research and Innovation and National Development; 2016 July 21; Naresuan University, Phisanulok: Naresuan University; 2016. (in Thai).
13. Lin W. A study on the factors influencing the community participation of older adults in China: based on the CHARLS2011 data set. Health and Social Care in the Community, 2017;25(3):1160-8.
14. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological measurement 1970;30:607-10.
15. Pattana P. Quality of life among those attended elderly school, Saraburi province [dissertation]. Bangkok: Thammasat University; 2017.
16. Sinchaiwanichakul C, Kespichayawattana J. Factors related to healthy aging among the older Persons in community-dwelling of Bangkok metropolitan. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018;19(Suppl):100-9. (in Thai).
17. Piyasakulkiat O. Community participation in the development of the elderly quality of life of Thakhae sub-district Lopburi province. Romphruek Journal, Krirk University18;36(3):46-65. (in Thai).