รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ ร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิชัย เสวกงาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กัญญดา ประจุศิลป รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน, การคิดเชิงออกแบบ, การสะท้อนคิดการปฏิบัติ, ความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาล

บทคัดย่อ

         การพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาล จะเป็นแรงผลักดันให้บุคคลนำความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับแรงบันดาลใจในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมที่สะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์ ของวิชาชีพพยาบาล

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาล โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดการปฏิบัติ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบการให้คำนิยามและการกำหนดองค์ประกอบของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) ระยะที่ 2 การสร้างและประเมินรูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน คู่มือ และแผนการจัด การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมและสร้างแรงบันดาลใจ 2) การศึกษาข้อมูลและระบุประเด็นปัญหา 3) การสืบค้นข้อมูลและทวนสอบแนวทาง การแก้ปัญหา 4) การสร้างและตรวจสอบต้นแบบนวัตกรรมการพยาบาล และ 5) การเผยแพร่และสะท้อนการเรียนรู้ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอน พบว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสม                   อยู่ในระดับมากที่สุด (mean  = 4.67, SD = 0.13) ผู้สนใจที่จะนำรูปแบบการเรียนการสอนนี้ไปใช้ ควรศึกษาคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนอย่างละเอียด เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ ของรูปแบบการเรียนการสอน

References

1. Prachusilpa G. Nursing management and leadership. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2018. (in Thai).

2. Bandansin J. Develop the creativity toward the nursing service innovation. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(3):9-17. (in Thai).

3. White KR, Pillay R, Huang X. Nurse leaders and the innovation competence gap. Nursing Outlook 2016;64(3):255-61.

4. Osman AA. School climate-the key to excellence. Journal of Emerging Trends in Educational Research and Policy Studies 2012;3(6):950-4.

5. Von Stamm B. Managing innovation, design and creativity: John Wiley & Sons; 2008.

6. Wang L, Li M. On the cultivation of automation majors’ research innovation ability based on scientific research projects. Higher Education Studies 2012;2(4):137-41.

7. Thongsai S. Nurse and the development of creative thinking. Journal of Phrapokklao Nursing College 2016;27(1):112-9 (in Thai).

8. Beaird G, Geist M, Lewis EJ. Design thinking: opportunities for application in nursing education. Nurse Education Today. 2018;64:115-8.

9. Burton AJ. Reflection: nursing's practice and education panacea? Journal of Advanced Nursing 2000;31(5):1009-17.

10. Boonchom Srisa-Ard. Basic research. 10th (Revised version) ed. Bangkok: Suwiriyasarn 2017. (in Thai).

11. Kidjawan N. Design thinking process: new perspective in Thai healthcare system Journal Thailand Nursing and Midwifery Council 2018;33(1):5-14. (in Thai).

12. Roberts JP, Fisher TR, Trowbridge MJ, Bent CA design thinking framework for healthcare management and innovation. Healthcare. 2016;4(1):11-4.

13. Yildirim B, Ozkahraman S. Critical thinking in nursing process and education. International Journal of Humanities and Social Science 2011;1(13):257-62.

14. Pavie X, Carthy D. Leveraging uncertainty: a practical approach to the integration of responsible innovation through design thinking. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 2015;213:1040-9.

15. Apel A, Hull P, Owczarek S, Singer W. Transforming the enrollment experience using design thinking. College and University. 2018;93(1):45-50.

16. Bootchuy P. Development of online knowledge sharing model using design thinking approach and future scenarios analysis techniques to enhance business creativity of undergraduate management students. Bangkok: Chulalongkorn University; 2016 (in Thai).

17. Rojsangrat P. Development of an instructional model using design thinking to create Thai products identity for undergraduate students Bangkok: Chulalongkorn University; 2016. (in Thai).

18. Wichainate K. Reflections: teaching for nursing students to develop critical thinking in nursing practice. Journal of The Police Nurses 2014;6(2):188-99 (in Thai).

19. Horton-Deutsch S, Sherwood G. Reflection: an educational strategy to develop emotionallycompetent nurse leaders. Journal of Nursing Management 2008;16(8):946-54.

20. Treenai S. Learning by reflective practice in advanced pediatric nursing practicum: experience and learning results of graduate nursing students. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(2):378-85 (in Thai).

21. Khemmanee TN. Science of knowledge teaching for process management effective learning. 20 ed. Bangkok: Chulabook; 2016. (in Thai).

22. De Bes FT, Kotler P. Winning at innovation: the A-to-F model: Palgrave Macmillan; 2011.

23. Patterson F, Zibarras LD. Selecting for creativity and innovation potential: implications for practice in healthcare education. Advances in Health Sciences Education 2017;22(2):417-28.

24. Kember D, Leung DY, Jones A, Loke AY, McKay J, Sinclair K, et al. Development of a questionnaire to measure the level of reflective thinking. Assessment & Evaluation in Higher Education 2000;25(4):381-95.

25. Wisanskoonwong P, Fahy K, Hastie C. Reflections on the practice of facilitating group- based antenatal education: should a midwife wear a uniform in the hospital setting? International Journal of Nursing Practice 2011;17(6):628-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02