บทบาทพยาบาลและผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในระดับปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 11

ผู้แต่ง

  • แก้วกาญจน์ บัวมาก สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • เรวดี เพชรศิราสัณห์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นัยนา หนูนิล สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาล, การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

บทนำ: พยาบาลวิชาชีพเป็นบุคลากรสุขภาพ มีบทบาทสำคัญในการบริการระดับปฐมภูมิในการจัดการโรคเรื้อรัง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์สุขภาพของผู้รับบริการ ภายใต้นโยบายการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยสภาการพยาบาล เรื่องบทบาทความรับผิดชอบของพยาบาลในการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาบทบาทของพยาบาลในการปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 11 ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หน่วยบริการปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 42 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2562 จากแบบสอบถามบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และแบบสอบถามผลลัพธ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของหน่วยบริการปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย: พบว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านการดูแลโรคเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 11 ขึ้นทะเบียนพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป ร้อยละ 88.10 และมีประสบการณ์การอบรมเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพียงร้อยละ 21.43 ระดับบทบาทของพยาบาลปฏิบัติมากที่สุด คือ งานให้ความรู้รายบุคคลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (M = 82.02, SD = 24.12) รองลงมา งานสนับสนุนครอบครัวเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง (M = 79.64, SD = 25.09) และงานติดตามการกินยาและให้ได้รับยาต่อเนื่อง (M = 78.21, SD= 26.08) สำหรับผลการดำเนินงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ และมีความถี่เท่ากับศูนย์ ได้แก่ อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจไขมัน LDL และมีค่า LDL น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วนลงพุง (รอบเอว มากกว่าส่วนสูง(ซม.)/2) ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากผู้สงสัยป่วย (ทำ Home Blood Pressure Monitoring, HBPM) สรุปผล: บทบาทสำคัญของพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ การให้ความรู้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัว และส่งเสริมการรับประทานยาต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้: ควรส่งเสริมการอบรมเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังแก่พยาบาล เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงของภาวะอ้วนลงพุงและไขมันในเลือดสูงในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

References

Primary Care Cluster Division. Guideline primary care cluster service. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2016. (in Thai).

World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of noncommunicable diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization; 2013.

Bureau of Non-Communicable Disease. National 5-year non-communicable disease prevention and strategic Plan 2017-2021. Bangkok: Emotion Art; 2016. (in Thai).

Pérez Rivas FJ, Martín-Iglesias S, Pacheco del Cerro JL, Minguet Arenas C, García López M, Beamud Lagos M. Effectiveness of nursing process use in primary care. Int J Nurs Knowl 2016;27(1):43-8.

Nursing Division. Role and performance of nurses. Nonthaburi: Suetawan; 2018. (in Thai).

Nursing Division. Nursing standards in the community. Nonthaburi: Suetawan; 2016. (in Thai).

Lukewich J, Edge DS, Vandenkerkhof E, Tranmer J. Nursing contributions to chronic disease management in primary care. J Nurs Adm 2014;44(2):103–10.

Norful A, Martsolf G, de Jacq K, Poghosyan L. Utilization of registered nurses in primary care teams: A systematic review. Int J Nurs Stud 2017;74:15-23.

Chunthai K. Primary care nurses with the role in primary care cluster team towards the sustainability of the public health system [Internet]. 2018 [cited 2020 Jan 19]; Available from: http://www.nursing.go.th/?page_id=62&page=2 (in Thai).

Sindhu S, Wongrot P. Case management of patients with diabetes and high blood pressure. 2nd ed. Bangkok: Wattana; 2014. (in Thai).

Narasri P, Chaladthanyagid K, Piaseu N. Nurses’roles in primary care management of noncommunicable diseases toward sustainable development goals. Rama Nurs J 2017;23(1):27-43. (in Thai).

Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. Information in response to the Service Plan for Non-communicable Diseases [internet]. 2018 [cited 2018 Nov 6]; Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php? cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

Tumsawad B, Rattannajarana S, Sakulkoo S. Professional nurses' competencies in caring for patients with chronic Illness, general and regional hospitals. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2013;21(3):36-47. (in Thai).

Donabedian A. The quality of care: How can it be assessed? JAMA 1988;260(12):1743-48.

Luecha W, Benjawattananon S, Pesee K, Rakmani P. The development of health care system for diabetes mellitus patients in chaiyaphum hospital. Journal of Nursing Division 2011;1:31-41. (in Thai).

Junprasert S, Khunlarnthanadee S, Piaseu N, Noonil N, Jaraeprapal U, Akwarangkoon S, et al. Research project on the roles and responsibilities of nurses in driving the primary health care system. Bangkok: Council of Nursing; 2019. (in Thai).

Posri R. Statistics for research. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2006. (in Thai).

Sarakshetrin A, Sumpawana A, Suvannarat K. Role performance of professional nurses in primary care unit. Journal of Nursing Division 2010;37(3):52-63. (in Thai).

Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. Information in response to the Service Plan for Non-communicable Diseases [internet]. 2018 [cited 2018 Nov 6]; Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php? cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

Sawaengdee K, Sarakshetrin A, Rajataram B, Chantra R, Kunlaka S, Rajataramya B, et al. A study of workload, sufficiency of manpower and human resource management in district health promotion hospital. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(2):174-83. (in Thai).

Sarakshetrin A, Sumpawana A, Suvannarat K. Role performance of professional nurses in primary care unit. Journal of Nursing Division 2010;37(3):52-63. (in Thai).

Likhitluecha N, Atthachaiwat A, Wongsuvansiri S, Sathira-angkura T, Leelawong S. Development of care management model for patients with uncontrolled diabetes. Journal of Nursing Division 2010;44(2):144-58. (in Thai).

Junhom B, Wivatvanit S. Nurse’s roles in community hospital according to thailand 4.0. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2018;30(3):116-29. (in Thai).

Tipkanjanaraykha K. Self management in older adults with metabolic syndrome. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2016;32(3):122-30. (in Thai).

Suwanasaeng N, Yingyoud P. Primary care cluster: concept and management of registered. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2020;35(1):5-17. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25