การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุขณะนำส่ง กรณีศึกษา แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • กฤษณา สังขมุณีจินดา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ศิมาภรณ์ พวงสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • มยุรา สุทธิจำนงค์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • อนงค์นาฎ รับความสุข โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การดูแล, ผู้ป่วยอุบัติเหตุ, การส่งต่อ

บทคัดย่อ

บทนำ: การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุเป็นสาเหตุการตายในลำดับต้นๆ ของประเทศไทย และเป็นภาวะวิกฤตของชีวิต หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุขณะนำส่ง ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุทุกรายที่ใช้แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุขณะนำส่ง (Injury Survival Form : IS) จำนวน 1,700 ราย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  มีรายละเอียดดังนี้ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบบันทึกข้อมูลการปฐมพยาบาล/การดูแลขณะนำส่ง ข้อคำถาม จำนวน  5 ข้อ ประกอบด้วย การดูแลการหายใจ การห้ามเลือด การยึดตรึงแนวกระดูกสันหลัง (Immobilize C- spine), การดาม (Splint/Slab) การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

ผลการวิจัย: จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 64.06 และช่วงอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 20.94 ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ช่วงอายุ 10 – 19 ปี ร้อยละ 20.47  ระดับการคัดแยกผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง) ร้อยละ 57.53 ส่วนใหญ่มาโรงพยาบาลโดยได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ร้อยละ 53.53  และสาเหตุของการบาดเจ็บเกิดจากอุบัติเหตุจากการขนส่ง

เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.47 พบว่าผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 64.06และช่วงอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 20.94 ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด มาโรงพยาบาลโดยได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ร้อยละ 53.53 รองลงมาสาเหตุของการบาดเจ็บเกิดจากอุบัติเหตุจากการขนส่งเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.47

สรุปผล: ผลการศึกษาพบว่าการดูแลผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุขณะนำส่งที่มีความเหมาะสม มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้: ควรมีการส่งเสริมให้เกิดการทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยขณะนำส่ง โดยวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติหน้าที่ และการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2018 [Internet]. 2018 [cited 2018 June 30]. Available from: https://www.who.int/violence_injury_prevention/ road_safety_status/2018/en/#:~:text=The%20Global%20status%20report%20on,people% 20aged%205%2D29%20years.

Songwathana P, Kwanphichit C, Sea-sia W, Kitrungrote L, Damkliang J, Sandchan H, et al. Healthcare Service Providers’ Perspective on Provision of Emergency Medical Services in Security Zones:A Qualitative Study. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2020;35(3):17-35. (in Thai).

National Institute for Emergency Medicine. Ministry of Public Health: Institute for Emergency Medicine 2018

[Internet]. [2 June 2018] Available from: https://ws.niems.go.th/ITEMS_DWH/

Kreethong W, Suwonnakote K, Monaiyapong P. The Development of Patient Referral Management

System for Professional Nurses at Emergency Department in a Tertiary Level Hospital under

the Medical Service Department in Bangkok Metropolitan Administration. Journal of Charoenkrung

Pracharak Hospital 2016;12(1):23-36. (in Thai).

Sungkamuneejinda K, Chantra R, Jantatame P, Chuchan Y, Weerakhachon P, Suppawongsanond W.

Study about of On-scene Patient Care of The Emergency Medical Responder in the Southern

Region of Thailand. Princess of Naradhiwas University Journal 2019;11(2):107-16. (in Thai).

Rattanasakul N, Dangsuwan K. Development of Caring System for Patient with Life-threatening

in Emergency Department, Naradhiwasrajanakrindra Hospital. Princess of Naradhiwas University Journal 2016;8(2):1-15. (in Thai).

Sahunphun P. The process of referral system between hospital. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal 2019;4(1):e0051-63. (in Thai).

Thrungmung J. Nursing Care Acute Respiratory Distress Syndrome. Siriraj Med Bull 2017;10:174-79. (in Thai).

Hasadsree N, Chanruangvanich W, Thosingha O, Riyapan S. Factors Predicting Shock in Emergency Patients. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2019;34(3):60-75. (in Thai).

Praphruetkit T. Use of Cable Ties for Temporary Fixation in Open Reduction and Internal Fixation of Femoral Shaft Fracture. Region 4-5 Med Journal 2017;36(1):40-7. (in Thai).

Kongsap O, Phonphet C. Association Between Fluid Resuscitation Volume Levels and Coagulopathy and Mortality Among Traumatic Patients with Shock. Songklanagarind Journal of Nursing 2019;39(2):142-51. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25