สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ทางสุขภาพ, วัยทำงานบทคัดย่อ
บทนำ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน หากประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอจะทำให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยทำงาน อายุ 18 – 59 ปี จำนวน 378 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจ การรู้เท่าทันสื่อและการตัดสินใจนำข้อมูลไปใช้ และการจัดการตนเองและการสื่อสารข้อมูล พัฒนาโดยผู้วิจัย ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ .98 และค่าแอลฟาครอนบาค ได้ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและแบ่งระดับความรอบรู้เป็น 3 ระดับ คือ ต่ำ ปานกลาง สูง ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพภาพรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 26.92, SD = 6.18) โดยมีความรอบรู้ด้านความรู้ความเข้าใจระดับสูงมากที่สุด ร้อยละ 93.92 รองลงมาคือการจัดการตนเองและการสื่อสารข้อมูล ร้อยละ 91.01 การรู้เท่าทันสื่อและการตัดสินใจนำข้อมูลไปใช้ ร้อยละ 90.74 ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ต้องปรับปรุงคือการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ร้อยละ 88.89 สรุปผล: ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนวัยทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง แต่หากพิจารณารายด้านที่ควรพัฒนาคือการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ข้อเสนอแนะ: จากการศึกษาครั้งนี้เจ้าหน้าที่สุขภาพควรพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพหลากหลายช่องทางมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับที่สูงขึ้นนำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป
Downloads
References
2. National Committee for the Development of the 12th National Health Development Plan [Internet]. 2018 [cited 2020 May 30]. Available from: http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_.pdf
3. Department of Health, Ministry of Health. Strengthening and assessing knowledge of health and health behavior in people aged 7-14, 15 years old and older [Internet]. 2018 [cited 2020 May 22]. Available from: file:///C:/Users/User/Downloads/220120180914085828_linkhed%20(3).pdf
4. Tachavijitjaru C. Health literacy: A key indicator towards good health behavior
and health outcomes. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018; 19 (Supplement):1-11. (in Thai)
5. Ginggeaw S, Prasertsri N. The Relationship between Health Literacy and Health Behaviors
among Older Adults who have Multi-morbidity. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2016; 25(3): 43-54. (in Thai)
6. Noori MY, Kazi M, Shahid A, Faisai A. The Relationship of Health Literacy, Perceived Health Information Need and Preventive Health Related Behavior in Urban Karachi. JIIMC 2015; 10(3): 210-213.
7. Health Education Division, Department of health service support. Health literacy and health behavior report of Thai people 2017 [Internet]. 2019 [cited 2020 May 31]. Available from: file:///C:/Users/User/Downloads/061220170334215785_linkhed.pdf
8. Office of DOH 4.0 and Health Literacy. Situation of Thai people's health literacy 2019 [Internet]. 2019 [cited 2020 May 31]. Available from: http://dohhl.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index
9. Tanasugarn C. Health Lietracy. [Internet]. 2019 [cited 2020 May 31]. Available from: http://doh.hpc.go.th/data/HL/HLO_chanuanthong.pdf
10. Krejcie, RV, Morgan, DW. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. (30): 607-610.
11. Srisatitnarakul B. The Methodology in Nursing Research. 4thed. Bangkok: You and I Intermedia; 2010. (In Thai)
12. Nhoorit S. Performance of service in tambon health promoting hospital. Reg 11 Med J 2014; 8(2): 471-480. (in Thai)
13. Songsirisuk N, Upakdee N. Survey of Community Pharmacist’s Professional Activities in Thailand. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9(2): 307-320. (in Thai)
14. Department of Health Service Support. Family Volunteer Guide for non-communicable diseases patients. Bankok: Agricultural Cooperative Assembly of Thailand; 2017.
15. Subsing B, Komin W, Praditsup N, Jongsukklai K, Chulalaksanukul W, Kulsomboon V, et al. Food consumption and the use of cooking oil for deep frying: a case study of Si-Chang island, Chonburi province. Journal of Humanities and Social Sciences 2017; 9(18): 72-83. (in Thai)
16. Raethong A. Health Literacy and Health Behaviour, 3Aor 2Sor, for the Village Health Volunteers (VHVs): case study of Hintok Sub-district, Ronphibun District, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Department of Health Service Support 2019; 15(3): 62-70. (in Thai)
17. Health Administration Division. Policy movement: District Health System. Bankok: Ministry of Public Health; 2014. (in Thai)
18. Anontaphong W, Phoyroungroj R. Stress of Flight Attendants Working for Foreign Airlines. Proceeding of the 10th Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward; 2019 March 29; Bankok, Thailand. (in Thai)
19. Noppakraw J, Chintanawat R, Khampolsiri T. Health Literacy and Self-Management in Older Persons with Type 2 Diabetes Mellitus. Nursing Journal; 47(2): 251-261. (in Thai)
20. Garcia-Codina O, Juvinyà-Canal D, Amil-Bujan P, Bertran-Noguer C, González-Mestre MA, Masachs-Fatjo E, et al. Determinants of health literacy in the general population: results of the Catalan health survey. BMC Public Health; 19(1122): 1-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น