ประสิทธิผลของการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแบบชุมชนมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ แผนคง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • สุกัญญา กระเบียด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • กมลรัตน์ อัมพวา กองสาธารณสุข เทศบาลตำบลเขาพระงาม
  • พัชรี สังข์สี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรัง, การดูแลแบบชุมขนมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

  ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) นับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นวิธีหนึ่งสำหรับในการแก้ไขปัญหา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาผลของการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโดยชุมชนมีส่วนร่วม การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง จำนวน 40 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 22 คน อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 12 คน และเครือข่ายชุมชน 6 คน ซึ่งอาศัยอยู่ ณ ชุมชนเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี การวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1) การวิเคราะห์สถานการณ์  2) การวางแผนกิจกรรม     3) การดำเนินการตามแผน ประกอบด้วย การดำเนินการฝึกอบรมผู้ดูแล 70 ชั่วโมง การพัฒนาเครื่องมือประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุและแผนการจัดการดูแลรายบุคคล 4) การสะท้อนการปฏิบัติกิจกรรม       5) การประเมินผล  รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่ม การการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง และแบบสอบถามความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอันดับที่  Wilcoxon singed- rank test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สัปดาห์ที่ 12 ภายหลังได้รับโปรแกรม 2) เครือข่ายชุมชนมีความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สัปดาห์ที่ 12 ภายหลังได้รับโปรแกรม ปัจจัยสำคัญคือ ความสามารถของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระบบการจัดการชุมชน โครงสร้างของเครือข่ายชุมชน ความร่วมมือ การเงิน และความเป็นผู้นำ ปัจจัยเหล่านี้สามารถนำไปใช้กับชุมชนอื่นได้

References

Foundation of Thai gerontology research and development institute. Situation of the Thai elderly [Internet]. 2014 [cited 2017 October 10]. Available from: https://www.thaitgri.org.pdf

Pankong O. Geriatric nursing. 4thed. Bangkok: Praboromarajchanok institute of welfare project; 2014. (in Thai).

Srithamrongsawat S, Bundhamcharoen K, Sasat S. Projection of demand and expenditure for institutional long-term care in Thailand. Health care reform project: Thai-European cooperation for health 2009. (in Thai).

Phalasuekand R, Thanomchayathawatch B. A family model for older people care. The southern college network. Journal of nursing and public health 2017;4(3):135-50. (in Thai).

World Health Organization. Innovative care for chronic conditions. World health organization [Internet]. 2002 [cited 2017 October 10]. Available from: http://www.who.int/ chp/ knowledge/publications/icccglobalreport.pdf

Boonmak R, Bouphan P. Community participation in health care services for type 2 diabetes mellitus patients: A case study of a sub-district health promoting hospital in Northeast Thailand. Journal of public health and development 2017;15(2):69-85. (in Thai).

Labonte R, Laverack G. Capacity building in health promotion, part 1; for who? And for who purpose? Critical public health [Internet]. 2001 [cited 2018 September 2]; 11:111-127. Available from: https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/09581590110039847

Piyasakulkiat O. Community participation in the development of the elderly quality of life of Thakhae Sub-District Lopburi Province. Rom phruek journal Krirk University, 2017; 36(3).

Srithamrongsawat S, Bundhamcharoen K, Sasat S, Amnatsatsue K. Community care model for older people in Thailand. 2009; 22-31. (in Thai).

Samphawamana O, Klaypugsee L, Arwut P, Phaenoi S. The development of chronic disease management for patients in a health promotion hospital: A case study of maluan health promotion hospital, Phunphin district, Suratthani Province. Nursing journal of the ministry of public Health. 2016; 157-67. (in Thai).

Kraioon S, Vonkaonoy S. The development network system of intervention for older persons with hypertension from hospital to community. The journal of Boromarajonani college of nursing, Nakhonratchasima 2015;41-53.

Khao Phra Ngam Municipality. Removing innovative lessons for the master's house project for chronic and elderly patients. Lop Buri: Khao Phra Ngam Municipality; 2016. (in Thai).

Cohen JM, Uphoff N. “Participation's place in rural development: seeking clarity through specificity”. World development. 1980;8:213-35.

Mahatnirunkul S, Tuntipivatanakul W, Pumpisanchai W. Comparison of the WHOQOL-100 and the WHOQOL-BREF (26 items). Journal mental health Thai 1998;5:4-15.

Thongchai N. Effect of promotion on fathers' role performance and satisfaction in participation during delivery [thesis]. Bangkok: Mahidol University; 1997. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-28