การศึกษาภาระงาน ความพอเพียงของอัตรากำลังและการบริหารกำลังคน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คำสำคัญ:
กำลังคน, ภาระงาน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาระงาน ความพอเพียงของอัตรากำลังและการบริหารกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บุคลากรทุกตำแหน่งที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. ที่มีผลงานโดดเด่นในแต่ละภาค ๆ ละ 2 แห่ง จำนวน 8 แห่ง รวม 16 คน ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จาก 4 ภาคของประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม รพ.สต. ยังมีความขาดแคลนกำลังคนเมื่อเทียบกับภาระงาน อัตรากำลังบุคลากรที่มีในปัจจุบันและบุคลากรทุกตำแหน่งมีการใช้เวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า ร้อยละ 30 ในการทำรายงานผลงานตามตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด การทำงานด้านบริหาร รวมถึงงานเอกสารอื่น ๆ เช่น งานพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน การบันทึกข้อมูล เป็นต้น ทำให้เวลาที่ให้บริการสุขภาพประชาชนลดลง ในขณะเดียวกันบุคลากรส่วนใหญ่รู้สึกขาดขวัญกำลังใจที่ทำงานหนัก แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ส่วนรูปแบบการบริหารกรอบอัตรากำลังคน ประกอบด้วย การบูรณาการการทำงาน การสร้างแนวปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน การถ่ายโอนภาระงานบางอย่าง การจัดระบบการบันทึกข้อมูลที่มีประสิทธิภาพโดยไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน การเชิญชวนจิตอาสามาเป็นทีมให้บริการสุขภาพ รวมถึงการปรับเวลาการให้บริการโดยเปิดบริการเต็มวัน ทุก 7 วัน ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย กระทรวงสาธารณสุขควรมีการทบทวนการกำหนดกรอบมาตรฐานอัตรากำลัง การสร้างขวัญกำลังใจในรูปแบบต่าง ๆ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากกำลังคนที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ ตามลักษณะงานและปริมาณงานของ รพ.สต. รวมทั้งการทบทวนเกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัด และระบบรายงานที่จะไม่เป็นภาระแก่บุคลากรโดยไม่จำเป็น
Downloads
References
2. Ministry of Public Health. Health promotion workforce. Copied documents; (2015). (in Thai)
3. Tangcharoensathien, V. et al. A Study of Work load and productivity among health personnel in District Health Promotion Hospital, Research repoprt, 2016. (in Thai).
4. Ministry of Public Health .Strategy and Planning Division. Health Promotion Plan for the Decade 2007–2016. (2016) [cited 2016 Jul 17]. Available from: https://phpp.nationalhealth.or.th/นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ/.../112_89228def6829 (in Thai)
5. Sirivetsunthorn, A. Health Promotion Working: Practical Guidelines for Health Care Profession in Health Centers. Nursing journal of ministry of public health, 2013; 23(2), 94-102. (in Thai)
6. The drive and reform of the service system. Primary Care Cluster Implementation Guidelines for Service Units; 2016 [cited 2016 Jul 17]. Available from: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/Guidelines%20PCC.pdf (in Thai)
7. Donabedian, A. Evaluating the Quality of Medical Care. Milbank Quarterly, 2005; 83, 691-729. Available from: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1468-0009.2005.00397.x/abstract
8. Institute of Medicine (US) Committee on the Health Professions Education. Health Professions Education: A Bridge to Quality; 2003. Washington (DC): National Academies Press (US).
9. World Health Organization. Primary Health Care: The basis for health systems strengthening. New Delhi: World Health Organization Regional Office for South- East Asia; 2018
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น