ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ต่อความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
บทคัดย่อ
การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาทางการพยาบาลทั้งในและต่างประเทศ แต่จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในประเทศไทยเป็นจำนวนน้อย การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มและวัดผลหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ต่อความพึงพอใจในการเรียนและความมั่นใจในตนเองในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ กรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของ Kolb ที่ดัดแปลงโดย Hall กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง และแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจในการเรียนและความมั่นใจในตนเองในการเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงกับหุ่นเสมือนจริงสูงให้กับกลุ่มตัวอย่างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 หลังจากนั้น กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งได้รับการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีความพึงพอใจในการเรียนและมีความมั่นใจในตนเองในการเรียนโดยรวมอยู๋ในระดับสูง (Mean = 4.88, SD = 0.21; Mean = 4.42, SD = 0.39 ตามลำดับ) สถาบันการศึกษาพยาบาลควรส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนที่นักศึกษาจะดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน เพื่อให้นักศึกษามีความพึงพอใจและมีความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วยอีกด้วย
Downloads
References
2. Office of the Council of State. National Education Act B.E. 2552 and B.E.2553. [cited 2016 Oct 20]. Available from https://www.mwit.ac.th/~person/01-Statutes/NationalEducation.pdf (in Thai).
3. Kanhadilok S, Punsumreung T. Simulation based learning: Design for nursing education. Journal ofNursing and Education 2016;9(1);1-14. (in Thai).
4. Norman J. Systematic review of the literature on simulation in nursing education. ABNFJ. 2012;23(2);24-8.
5. Younis GA, Al-Metyazidy HA. Effectiveness of high fidelity simulation versus traditional clinical teaching strategies on undergraduate nursing students' achievement. Int J Nurs Didactics 2013;6(07):1-13.
6. Aqel AA, Ahmed MM. High-fidelity simulation effects on CPR knowledge, skills, acquisition, and retention in nursing students. Worldviews Evid Based Nurs 2014;11(6);394-400.
7. Hall RM. Effects of high fidelity simulation on knowledge acquisition, self-confidence, and satisfaction with baccalaureate nursing students using the Solomon-four research design [Electronic Doctoral dissertation]. Johnson City: East Tennessee State University; 2013. [cited 2016 Oct 20]. Available from http://dc.etsu.edu/etd
8. Robinson D. High-fidelity nursing simulation: Impact on student self-confidence and clinical competence [Unpublished master thesis]. Muncle: Ball State University; 2013.
9. Hsin-Hsin L. Effectiveness of simulation-based learning on student nurses' self-efficacy and performance while learning fundamental nursing skills. Technol Health Care 2016;24(s1);S369-75.
10. Lertlum L, Tanasansutee C, Thongnit, M. Development of simulation based learning. In Proceeding of the 3rd Rajabhat University National Conference; 2014 Dec 17-18; Phuket, Thailand. 2014. p. 279-90. (in Thai).
11. Kumkong M, Leejareon P, Aramrom Y, Jitviboon A. Effects of simulation-based learning on perceived self-efficacy in providing nursing care for advanced life support to patients with critical Illness or emergency condition among nursing students. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2016;3(3);52-64. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น