การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่องการดูดเสมหะทางจมูกและปากในเด็ก สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • พัชรี วัฒนชัย
  • ศิริธร ยิ่งเรงเริง

คำสำคัญ:

วิจัยและพัฒนา, สื่อวีดิทัศน์, การดูดเสมหะทางจมูกและปาก, เด็ก, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          สื่อวีดิทัศน์จัดเป็นสื่อทางการศึกษาประเภทมัลติมีเดียที่มีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นขั้นตอนการปฏิบัติได้ชัดเจน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลสื่อวีดิทัศน์การดูดเสมหะทางจมูกและปากในเด็ก สำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยดำเนินการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ตาม ADDIE Model ระหว่างเดือนมีนาคม 2560–สิงหาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ได้มาจากการสุ่มด้วยวิธีการจับฉลากตามกลุ่มนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติงาน จำนวน 48 คน การวิจัยมี 3 ระยะ 1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสื่อการเรียนการสอน 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์ และ 3) การประเมินความรู้ ทักษะและความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน

ผลการศึกษาพบว่า

  1. 1. ประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์เรื่องการดูดเสมหะทางจมูกและปากในเด็กเท่ากับ 81.25/83.25 สูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน/แบบทดสอบหลังเรียน (E1/E2) ที่ตั้งไว้ 80/80
  2. 2. คะแนนความรู้เรื่องการดูดเสมหะทางจมูกและปากในเด็กของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นภายหลังการชมสื่อวีดิทัศน์กว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 147, p < .001)
  3. 3. คะแนนสอบทักษะการดูดเสมหะทางจมูกและปากในเด็กของนักศึกษาผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65 (95.83%, N=48)
  4. 4. คะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสื่อวีดิทัศน์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.76, S.D = 0.44)

การวิจัยนี้สรุปได้ว่าสื่อวีดิทัศน์นี้มีประสิทธิผลในการเตรียมความพร้อมและส่งเสริมทักษะการดูดเสมหะทางจมูกและปากในเด็กของนักศึกษาพยาบาล

 

References

1. Khammani T. Teaching Technique: knowledge for effective learning process bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2016. (in Thai)

2. Potisan j. Role of Teachers’ in the education system. Journal of instructional Development 2012;6(2):97-108. (in Thai)

3. Panagiota NS, Christos N. Evaluating the impact of video-based versus traditional lectures on student learning Educational Research 2015;1(8):304-11.

4. Edna B, Beatriz A, Pep S, Mihaela E, Vicenc F. Video as a new teaching tool to increase student motivation. 2014 [cited 2015 Jan 15] Available from: from https://upcommons. upc. edu/e-prints/bitstream/2117/12717/1/bravo-amante.pdf

5. Jungpanich A, Srisalaun O. Effects of using daily care plan video teaching on clinical self-confidence and satisfaction of nursing students, Kuakarun faculty of nursing, Navamindradhiraj university. Kuakarun Journal of Nursing 2015;22(1):17-34. (in Thai)

6. Ariane FC, Lucimara M, Fernanda TB, Christiane IV, Claudia BS, Emilia CC. Effect of a video on developing skills in undergraduate nursing students for the management of totally implantable central venous access ports. Nurse Education Today. 2012; 32:709-7135

7. Carvalho EC, Stina APN, Marmol MT, Garbin LM, Braga FTMM, Moreli L. et al. Effects of an educational video on the oral hygiene of patients with hematologic disorders. 2014 [cited 2015 Jun 15] Available from: from https:// dx.doi.org/10.5216/ree.v16i2.23300.

8. Pinar G, Akalin A, Abay H. The effect of video based simulation training on neonatal examination competency among turkish nursing students. European Scientific 2016; 12(15):394-405.

9. Kruse K, Keil J. Technology-based training: The art and science of design, development, and delivery. 2000 [cited 2016 August 31] Available from https://www.e-learningguru. com/article/art2 1.htm

10. Leekitchwatana P. Research methods in education. Bangkok: Mean service supply; 2015. (in Thai)

11. Brahmawong C. Developmental testing of media and Instructional Package. Silpakprn Educational Research Journal 2013;5(1):5-20. (in Thai)

12. Yamkasikorn M. How to use efficiency criterion in media research and development: The Difference between 90/90 Standard and E1/E2. Journal of education 2008;19(1):1-16. (in Thai)

13. Paowana, W. The efficiency of Instructional media of vaginal douche for nursing care of persons with Health problem practicum III, Boromarajonani College of Nursing, Udonthani. Jounal of nurses’ association of Thailand, North-eastern division 2013;31(3):99-106. (in Thai)

14. Nakanakupt M, Iamchareon T. Development of Video Media on Childbirth for Third-Year Nursing
Students, Rangsit University. 2017. (in Thai)

15. Thaweesook P, Suvithayasiri K, Wangchom S. The development of video lesson on leopole’s maneuvers for nursing students at Boromrajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2019;35(1):264-76. (in Thai)

16. Klaypet P, Kanchai S, Plengkratoke S. Satisfaction and learning outcome of nursing students about learning media for promote to basic nursing skills. Boromarajonani College of Nursing, Khon Kaen. 2014. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-03