การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ฯ ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการสัมภาษณ์อาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาล และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร (n=10) ในประเด็นการจัดการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ ความต้องการ และรูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน และแจกแบบสอบถามความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลและนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ และทันตสาธารณสุขศาสตร์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร (n=229) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ ประกอบด้วย การเรียนรู้ที่ 1 การเรียนรู้แต่ละวิชาชีพ การเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำ การเรียนรู้ที่ 3 การทำงานเป็นทีม และการเรียนรู้ที่ 4 การคิดสร้างสรรค์ขั้นตอนที่ 3 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ ตามเกณฑ์ 80/80 และการนำรูปแบบการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จาก 5 สาขาวิชาชีพ (n=35) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามความสมัครใจ และขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที (Paired t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
- 1. หลักสูตรการสอนของสถาบันพระบรมราชชนกสำหรับนักศึกษาพยาบาลและนักศึกษาสหสาขาวิชาชีพอื่น ๆ ที่ผ่านมายังไม่มีมีเนื้อหาการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพโดยตรง มีเพียงสอดแทรกในรายวิชาต่าง ๆ และจากการประเมินความความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาทั้ง 3 สาขาวิชาชีพ มีความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับอาจารย์ผู้สอนที่เสนอว่าควรจัดให้มีการเรียนรู้ร่วมกันในสหสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ในรูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตร
- 2. ร่างรูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากและมีความสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบของกิจกรรมการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพกับประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ได้ค่า E1/E2 เท่ากับ 81.23/83.52 ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด
- 3. คะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ และความสามารถในการทำงานของทีมสหวิชาชีพ หลังเข้าร่วมรูปแบบการเรียนรู้ สูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมรูปแบบการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพ ทั้งด้านบทบาทของทีมสหวิชาชีพ ความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม และการคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
- 4. รูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย การเรียนรู้ที่ 1 การเรียนรู้แต่ละวิชาชีพ การเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำ การเรียนรู้ที่ 3 การทำงานเป็นทีม และการเรียนรู้ที่ 4 การคิดสร้างสรรค์ ซึ่งทุกการเรียนรู้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์จริง ร่วมกับการสะท้อนคิด และต้องส่งเสริมให้นักศึกษามีการพัฒนานวัตกรรมร่วมกันระหว่างสาขาวิชาชีพ
Downloads
References
2. Ministry of Public Health. Capacity of active aging plan. [Internet]. 2013 [cited 2017 Jun 10] Available from http://anamai.moph.go.th/download/. Pdf. (in Thai)
3. Thai National Health Organization. Strong health personnel and Health system sustainable. [Internet]. 2016 [cited 2017 Jun 10] Available from http://www.thaihealth.or.th/Content/34190-บุคลากรสุขภาพเข้มแข็ง%20ระบบสุขภาพยั่งยืน.html. (in Thai)
4. Subcommittee Interprofessional Education. Interprofessional education. [Internet]. 2013 [cited 2017 Aug 20] Available from http://www.healthprofessionals21thailand.org/wp-content/uploads/2016/11/1.-Call-for-IPE-Proposals-Final-020617.pdf (in Thai)
5. Chuenkongkaew W. The report on the annual national health professional education reform forum:ANHPER. [Internet]. 2013 [cited 2017 Aug 20] Available from http:// http://www.healthprofessionals21thailand.org/wp-content/uploads/2016/11/book_report1-2.pdf (in Thai)
6. Putthasri W, Chuenkongkaew W. The report on 3rd annual national health professional education reform forum: ANHPERF "IPE towards Thai Health Team". Nonthaburi: P.A Living Ltd. 2017; Bangkok, Thailand. (in Thai)
7. Sontichai A, Boonsu T, Thanee N. The behavior identity model of Primary Health Care Services of bachelor’s degree students in public health (community public health) at Sirindhorn College of Public Health, Ubonratchathani. Nursing Public Health and Education Journal 2016; 19(1): 145-160. (in Thai)
8. Chantian P, Saard S, Von Bormann S, Boonpleng W. The development of an E-learning program to prepare nursing students of Phraboromarajchanok Institute for Health Workforce Development in response to the ASEAN community. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2016; 26(2):154-165. (in Thai)
9. Phokhwang W, Thongphet P, Sarakshetrin A, & Klaypugsee L. Palliative care competency of nursing students at nursing colleges, the ministry of public health. Research report, Suratthani, 2017. (in Thai)
10. McFadyen AK, Webster VS, Maclaren WM. The test-retest reliability of a revised version of the Readiness for Interprofessional Learning Scale (RIPLS), Journal of Interprofessional Care 2006;20(6):633-639.
11. Schmitz CC, Radosevich DM, Jardine P, MacDonald CJ, Trumpower D, Archibald D. The interprofessional collaborative competency attainment survey (ICCAS): A replication validation study. Journal of Interprofessional care 2017; 31(1): 28-34.
12. Sethasathie S. A model of interprofessional education (IPE) in department of physical medicine and rehabilitation, Udonthani Hospital. Journal of Thai Rehabilitation Medicine 2015; 25(2): 65-70. (in Thai)
13. Knowles JG, Cole AL, & Presswood CS. Through preservice teachers’eyes: Exploring field experiences through and inquiry. New York: Merrill; 1994.
14. Johns C. Becoming a reflective practitioner: a reflective and holistic approach to clinical nursing, practice development and clinical supervison. Oxford: Blackwell Science; 2000.
15. Tirapaiwong Y, Aomsin K. Instructional development through professional learning communities: Guideline for developing teachers and students. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2018; 34(2): 164-172. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น