การประเมินความต้องการจำเป็นของการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติ ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อุไร นิโรธนันท์
  • อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
  • ปทีป เมธาคุณวุฒิ

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การศึกษา, พยาบาล, นานาชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นของการเป็นวิ ทยาลัยพยาบาลนานาชาติ ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สอนและผู้เรียนในสถาบันการศึกษาพยาบาลที่เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติ ประกอบด้วยอาจารย์ 32 คน นักศึกษาชาวไทย 262 คน และนักศึกษาชาวต่างชาติ 35 คน รวมทั้งสิ้น 329 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นของการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย มีค่า ความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย จากการวิเคราะห์ค่า ดัชนี PNImodified ของทั้งกลุ่มผู้สอนและผู้เรียน พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ0.721 โดยรายการประเมินที่มีค่าสูงที่สุด คือ แลกเปลี่ยน นักศึกษากับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศ (1.144) รองลงมาคือ กำหนดให้การศึกษา อบรม ดูงานในต่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา (1.079) ค่าดัชนี PNImodified เฉพาะของกลุ่มผู้สอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.728 ส่วนในกลุ่มผู้เรียนมีค่า เฉลี่ยเท่ากับ 0.714 ความต้องการจำเป็นที่มีความสอดคล้องกันของกลุ่มผู้สอนและผู้เรียน โดยมีลำดับเท่ากันใน 3 ลำดับแรก คือ 1) การแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศ 2) กำหนดให้การศึกษา อบรม ดูงานใน ต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา และ 3) การเปิดสอนหลักสูตร 2 ปริญญาร่วมกับสถาบันการศึกษาพยาบาลใน ต่างประเทศ ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า การมีเครือข่าย การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้สอนผู้เรียนและวิชาการ ตลอดจนการ มีข้อตกลงความร่วมมือกันกับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศ จะช่วยสนับสนุนการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติ ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

References

1. Ministry of Education. Framework for higher education for 15 years. Vol .2 (2008- 2022). [Internet].
2007 [cite 2018 Jul, 5]. Available from qa.eau.ac.th/docs/share_docs/21.pdf (in Thai)

2. National Science and Technology Development Agency. Thailand 4.0 model drives Thailand to
prosperity, stability and sustainability [Internet].2017 [cite 2018 Jun, 20]. Available from: https://
www.nstda.or.th/th/nstda-doc-archives/thailand-40/11625-blueprint-thailand-4 (in Thai)

3. Office of the National Economics and Social Development Board. Documentation for annual
meeting 2013. Impact Muang Thong Thani; 2013. (in Thai)

4. Thailand Nursing and Midwifery Council. Nursing professional in ASEAN. Documentation for seminar.
December 13, 2012. Nakharintarasri Building. Thai Nursing Council; 2012. (in Thai).

5. Kunaviktikul W, Guptarak M, Juntasopeepunand P. Strengthening nursing education in three
Southeast Asian Countries Program (SNESEA): a model for addressing the nursing shortage on a
regional level. Nurse Education Today 2014;34(5):683–686. (in Thai)

6. Thailand Nursing and Midwifery Council. [Internet].2017 [cite 2018 Jun, 20]. Available from:https://
www.tnmc.or.th/ (in Thai)

7. Thakhong k. Evaluation of Bachelor of Nursing Science Program (International Program)
International College Naresuan University; 2008. (in Thai)

8. Wongwanich S. Needs assessment research. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2015.
(in Thai)

9. Knight J. Higher education in turmoil: The changing world of internationalization. Rotterdam: Sense Publishers; 2008.

10. Rumbley LE, Altbach PG. The local and the global in higher education internationalization;
A crucial nexus. In L. E. Rumbley P. Altbach (Eds.), Global and local internationalisation Rotterdam:
Sense Publishers; 2016.

11. Burch J G. Systems analysis, design and implementation. Boston, USA: Boyd & Fraser Publishing
Company; 1992.

12. Palanand P. Feasibility analysis of teaching and learning by using Mobile technology in rich
institutions. [Dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University ; 2011. (in Thai)

13. Charles H, Plager K. A. Internationalising nursing education from the ground up: The case of
Northern Arizona University. In Critical Perspectives on Internationalising the Curriculum in
Disciplines: Reflective Narrative Accounts from Business Education and Health. Sense Publishers; 2015.

14. Osakwe NN. Internationalizing Courses: A Faculty Development Process. International Research
and Review; 2017.

15. Joyce J. A needs assessment for Selkirk Colleges Internationalization Strategic Plan. School of
Public Administration, University of Victoria [Internet].2016 [cite 2018 Jun 15]. Available from:
https://dspace.library.uvic.ca/bitstream/handle/1828/7703/Joyce_Robyn_MPA_2016.
pdf?sequence=1&isAllowed=y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-01