ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะของผู้ปกครองในการสื่อสารเรื่อง เพศศึกษากับบุตรหลานวัยรุ่นเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์
  • ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร
  • ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเรียนรู้, การสื่อสารเรื่องเพศศึกษา, การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์, การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

บทคัดย่อ

          ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ไม่พร้อมยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะของผู้ปกครองในการศึกษาเรื่องเพศศึกษากับบุตรหลานวัยรุ่นเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ไม่พร้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองเพศหญิงที่มีบุตรหลานวัยรุ่นเพศหญิงซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเลือกมาแบบจำเพาะเจาะจงจำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษากับบุตรหลานวัยรุ่นที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินการตามปกติ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะของผู้ปกครองในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษากับบุตรหลานวัยรุ่น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยล Wilcoxon Signed Rang test และ Mann-Whitney u test

         ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการจัดโปรแกรม ผู้ปกครองกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา เจตคติเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา การรับรู้ความสามารถตนเองในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา การรับรู้ผลลัพธ์ของการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา และทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษากับบุตรหลานวัยรุ่นไม่แตกต่างกัน แต่ภายหลังการจัดโปรแกรมพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา เจตคติเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา การรับรู้ความสามารถตนเองในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา การรับรู้ผลลัพธ์ของการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา และทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษากับบุตรหลานวัยรุ่น สูงกว่าก่อนการจัดโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) จากผลการวิจัยข้างต้น จะเห็นว่าโปรแกรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถสร้างทักษะของผู้ปกครองในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษากับบุตรหลานวัยรุ่นได้ จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ปกครองกลุ่มอื่นๆ ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้นต่อไป

References

1. Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. Statistics on
Adolescent Births, Thailand 2015. Nonthaburi: The agricultural Co-operative federation of Thailand; 2017. (in Thai)

2. World Health Organization. Adolescent pregnancy [Internet]. 2018 [cite 2018 Jun 22]. Available
from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy

3. Singh S, Sedgh G, Hussain R. Unintended pregnancy: Worldwide levels, trends, and outcomes. Stud Fam Plann 2010;41(4):241-50.

4. Khumtorn, L. How to prevent unwanted teenage pregnancy? Journal of Boromarajonani College
of Nursing, Bangkok 2014;30(3):97-105. (in Thai)

5. Prasartwanakit A, Songwathana P, Phetcharat B. Sexual beliefs and patterns among Thai adolescentsand youths in educational institutions in Songkhla province. Songkla Med J 2009;27(5):369-80. (in Thai)

6. Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. Statistics on
adolescent births, Thailand 2013. Bangkok: The war Veterans Organization of Thailand Officer of
Printing Mill; 2014. (in Thai).

7. Wongsawat P, Supametaporn P. Factors affecting prevention of premarital sexual behavior among
teenagers. Research Report of faculty of public health, Naresuan University, 2014. (in Thai).
8. Bloom BS. New views of the learner: Implications for instruction and curriculum. Educational
Leadership 1978;35:563-76.

9. Bandura A. On the functional properties of perceived self-efficacy revisited. Journal of Management
2012;38(1):9-44.

10. Prasertsuk, N. Constructive communication for family happiness. Veridian E-Journal. 2015;8(2):737-47. (in Thai).

11. Bernard, R. Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning; 2000.

12. Tavakol M, Dennick R. Making sense of Cronbach’s Alpha. International Journal of Medical Education 2011;2:53-55. (in Thai).

13. Heednakram U, Kasatpibal N, Viseskul N. Effect of parent communication skill development on communication about HIV prevention between parents and early adolescents. Nursing Journal 2015;42:13-24. (in Thai).

14. Yanasan B, Powwattana A, Nanthamongkolchai S, Auemaneekul N. Sexual communication skill development program by peer leader to prevent sexual risk behavior among early female adolescents. Journal of Public Health Nursing 2015;29(1):114-31. (in Thai).

15. Chairak P, Chamroonsawasdi K, Kittipichai W, Taechaboonsermasak P, Khajornchaikul, P. Effects of paternal sex education program on sexual communication with 10-12 year old sons in Bangkok Vicinity. J Public Health 2014;44(1):17-29. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01