การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม

ผู้แต่ง

  • สิริณัฏฐ์ โภคพัชญ์ภูเบศ
  • ชลิดา ธนัฐธีรกุล
  • สมสมร เรืองวรบูรณ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารปูแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก กรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนมทุกคน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ความรู้และแบบสังเกตทักษะด้านการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการของครูผ้ดููแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า

  1. รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม ที่พัฒนาขึ้นพบว่า กระบวนการในการดำเนินงาน มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) จัดระบบการให้บริการด้านพัฒนาการที่บูรณาการกับแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ 2) พัฒนาบุคลากรด้วยการพัฒนาศักยภาพครูผ้ดููแลเด็ก ด้านความรู้และทักษะปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3) การติดตามและส่งต่อข้อมูลด้านพัฒนาการ 4) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็ก
  2. ผลจากการใช้รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนมพบว่า รูปแบบที่ใช้ดำเนินการ มีความชัดเจนและต่อเนื่อง เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสามารถค้นหาเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการและได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามวัยอย่างครอบคลุม จนเด็กมีพัฒนาการที่สมวัยมากขึ้นกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ ถึงร้อยละ 97.5 รวมทั้งยังสามารถส่งเสริมให้ครูมีความรู้ มีความสามารถในการปฏิบัติการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยพบค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 66.7 ระดับปานกลาง ร้อยละ 33.3 และมีค่าคะแนนเฉลี่ยของทักษะปฏิบัติด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ร้อยละ 66.7 และระดับปานกลาง ร้อยละ 33.3 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้และทักษะการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กของครูผู้ดูแลเด็ก ภายหลังการพัฒนา พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา (mean=17.0 S.D.=2.3, mean=16.00 S.D.=3.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนมในครั้งนี้ เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมวิเคราะห์ปัญหาร่วมวางแผนกำหนดการดำเนินงาน มีการเฝ้าติดตามเป็นระยะสามารถปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์รวมถึงมีการสะท้อนและสรุปบทเรียนร่วมกันภายหลังการดำเนินงานทำให้กำหนดรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพกับศูนย์พัฒนาเด็ดเล็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนนี นครพนม จนส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการเด็กไปในทิศทางที่ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Wangsachantanon T, Wattanaamorn S, Jirarattanawanna N, Buntumporn N. The role of caregivers in day care centers to screening and development promoting of early childhood. Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology) 2015;6(12):114-21. (in Thai).

2. On-Ying A, Apichat LA. Factor educational administration affect quality of life preschool children child development center in Phetchaburi province. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2016;9(3),1162-72. (in Thai).

3. Madsem P. Guidelines for developing a desirable child daycare of Kohklang subdistrict administrative organization, Kohlanta District, Krabi province. Proceeding of the 4th; Hat Yai academic conference. 2013 May 10; p 510-520. [Internt]. [cited 2018 Sep 12]. Available from: http://www.hu.ac.th/conference/conference2013/ Proceedings2013/pdf/Book3/Poster2/355_510-520.pdf. (in Thai).

4. Payakkaraung S, Sangperm P. Caregivers’ perspectives on promotion of child development in day care center. Journal of Nursing Science 2014;32(2):62-70. (in Thai).

5. Sutthinarakorn W. Action Research: Freedom and Creativity – based Research. Bankok: Siam; 2013. (in Thai).

6. Pakkotanang T, Charoensuk C. Administration of the child development centers under Kae Dam tambon administration organization, Kae Dam District, Mahasarakham Province. Journal of Politics and Governance 2014;4(2):352-366. (in Thai).

7. Sirithongthaworn S. The development of developmental surveillance and promotion manual; DSPM. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2018; 63(1), 3-12. (in Thai).

8. Sornsing R, Thongjua P, Jitgaroon PA. Development of preschool children problem solving ability through educational game. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University 2017;11(1):92-104. (in Thai).

9. Tiemtad K. Learning experiences of early childhood in Matthayomsathukarnwittaya school. humanities and social sciences SDU Research Journal 2014;10(2):1-18. (in Thai).
10. Khachonmot R, Phaophan C. Development of the children’s caretaker-teachers in organizing an integrated learning experience at the child development center of Phosi sub-district administration organization, Phochai district, Roi-Et province. Nakhon Phanom University Journal 2014;4(1):96-103.
(in Thai).

11. Pongsaranuntakul Y, Payakkaraung S. Model of promoting language development in children aged 2-4 years old by parents or caregivers: A case study in child care center. Journal of Nursing Science 2016;34(2):34-44. (in Thai).

12. Tepvorachai U, Cheunarrom K. The study of child development center services in Muang Pathum Thani. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2017;27(Suppl):184-95. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29