ความเครียดที่เฉพาะกับการตั้งครรภ์ การสนับสนุนทางสังคม และการเผชิญความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
ศุภวิทิตพัฒนา, การสนับสนุนทางสังคม, การเผชิญความเครียด, สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์บทคัดย่อ
สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จำเป็นต้องมีการเผชิญความเครียด เพื่อลดผลกระทบของความเครียดที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อสุขภาพของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดที่เฉพาะกับการตั้งครรภ์ การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดที่เฉพาะกับการตั้งครรภ์ การสนับสนุนทางสังคมและการเผชิญความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการเผชิญความเครียดของ Lazarus และ Folkman12 กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิด A1 จำนวน 85 ราย ที่มารับบริการในหน่วยฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความตึงเครียดของการตั้งครรภ์ฉบับปรับปรุงที่ผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาแปลจากแบบสอบถามการรับรู้ความตึงเครียดของการตั้งครรภ์ฉบับปรับปรุงของ Lobel et al11 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงของ พรรณี ฉุ้น ประดับ15 แบบสอบถามพฤติกรรมการเผชิญ ความเครียดในสตรที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้วิจัยได้ดัดแปลงจากแบบสอบถามพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของสตรีที่มีภาวะเสี่ยงพัฒนาโดย พรรณี ฉุ้นประดับ15 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า
- ความเครียดที่เฉพาะกับการตั้งครรภ์ของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์อยู่ในระดับตํ่า ( = 11.67, S.D. = 5.44)
- การสนับสนุนทางสังคมของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์อยู่ในระดับสูง ( = 90.24, S.D. = 12.77)
- การเผชิญความเครียดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์อยู่ในระดับสูง ( = 96.41, S.D. = 9.97)
- ความเครียดที่เฉพาะกับการตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียด
- การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการเผชิญความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .443, p < .01)
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินการเผชิญความเครียดเพื่อการดูแลสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และการสนับสนุนทางสังคม
Downloads
References
2. American Diabetics Association. [ADA]. Standards of medical care in diabetes. Diabetes Care 2008;31(1):12-54.
3. Moore TR, Smith CV. Diabetes mellitus and pregnancy [Internet]. 2011 [cite 2017 May 10]. Available from: https://www.medscape.com.
4. Deerochanawong C, Ferrario A. Diabetes management in Thailand: A literature review of the burden, costs, and outcomes. Globalization and Health 2013;9(11):1-18.
5. Maternal Fetal Medicine. Obstetrics and Gynecology statistics [Internet]. 2015 [cite 2017 Feb 20]. Available from: https://www.medicine.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/images/stories/MFM/Statis a./MFM15.pdf
6. Lawson EJ, Rajaram SA. Transformed pregnancy: The psychosocial consequences of gestational diabetes. Sociology of Health & Illness. 1984;16(4):526-563.
7. Diabetes Association of Thailand under The Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Clinical Practice Guideline for Diabetes [Internet]. 2014 [cited 2017 Jan 20]. Available from: https://203.157.39.7/imrta/images/cpg 20141120.pdf.
8. Wood SA, Melville JL, Guo Y, Fan M, Gavin A. Psychosocial stress during pregnancy. American Journal of Obstetrics and Gynecology 2010;202(1):61.e1-61.e7.
9. Jittrapirom A, Chareonsanti J, Sriarporn P. Pregnancy Risk Perception, Uncertainty, and Stress among Gestational Diabetic Women. Nursing Journal 2014;41(4):50-61. (in Thai).
10. Phrommasen PH. Social Support, and Stress among Gestational Diabetic Women [Master of Nursing thesis]. [Chiang Mai]: Chiang Mai University; 2015. (in Thai).
11. Lobel M, Hamilton JG, Cannella DT. Psychosocial perspectives on pregnancy: prenatal maternal stress and coping. Social and Personality Psychology Compass. 2008;2(4):1600-23.
12. Lazarus RS, Folkman S. Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer; 1984.
13. Yali AM, Lobel M. Coping and distress in pregnancy: An investigation of medically high risk women. Journal of Psychosomatic Obstetrics & Gynecology. 1999;20(1):39-52.
14. Chunpradub, P. The Relationship between Self-Esteem, Social Support and Coping Behavior in High-risk Pregnant Women [Master’s thesis]. [Bangkok]: Mahidol University;1995. (in Thai).
15. Ekasingh B. Uncertainty in illness and coping strategies in pregnant women with hypertensive disorder and diabetes mellitus. [Master’s thesis]. [Bangkok]: Mahidol University;1998. (in Thai).
16. Pakenham KI, Smith A, Rattan S. L. Application of a stress and coping model to antenatal depressive symptomatology. Psychology, health & medicine. 2007;12(3):266-277.
17. Blechman EA, Lowell E. S, Garrett, J. Prosocial coping and substance use during pregnancy. Addictive behaviors. 1999;24(1):99-109.
18. Ryding E, Wijma B, Wijma K., Rydhstrom H. Fear of childbirth during pregnancy may increase the risk of emergency cesarean section. Acta obstetricia et gynecologica Scandinavica. 1998;77(5):542-547.
19. House JS. Work stress and social support. New Jersey: Prentice Hall; 1981.
20. Giurgescu C., Penckofer S., Maurer MC., Bryant FB. Inpact of uncertainly, social support, and prenatal coping on the psychological well-being of high-risk pregnancy woman. Nursing research.2006;55(5):356-365.
21. Polit, D. F. Statistics and data analysis for nursing research. 2nd ed. Boston: Pearson; 2010.
22. Lobel M, Cannella DL, Graham JE, DeVincent C, Schneider J, Meyer BA. Pregnancy-specific stress, prenatal health behaviors, and birth outcomes. Health Psychology. 2008;27(5):604-615.
23. National Statistical office. Survey economics [Internet]. 2015 [cite 2017 May 10]. Available from: https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/SocioPocket58.pdf. (in Thai).
24. Borcherding KE. Coping in healthy primigravidae pregnant women. Journal of Obstetric, Gynecologic, & Neonatal Nursing 2009;38(4):453-462.
25. Prechakornkanokkul P, Wattananukulkiat S, Phanphruk W. Stress and coping of industrial Prechakornkanokkul P, Wattananukulkiat S, Phanphruk W. Stress and coping of industrial pregnant women in the Suranaree Industrial Zone, Nakhon Ratchasima province. Journal of Nursing Science & Health. 2012;35(2):53-61. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น