การป้องกันพหุพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นไทยทำได้จริงหรือ?

ผู้แต่ง

  • พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา

คำสำคัญ:

พหุพฤติกรรมเสี่ยง, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

สังคมไทยในปัจจุบันมีปัญหาในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ของวัยรุ่นเพิ่มสูงขึ้น ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือเรียกได้ว่าพหุพฤติกรรมเสี่ยง (multiple risk behaviors) ซึ่งหมายถึงวัยรุ่นหนึ่งคน ทำพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าหนึ่งพฤติกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พฤติกรรมเสี่ยงหนึ่งพฤติกรรมสามารถนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ตามมา ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทับซ้อนกันหรือจัดเป็นสาเหตุร่วมที่พบเหมือนกันทุกพฤติกรรม เสี่ยง สามารถจำแนกเป็นปัจจัยหลัก 3 ระดับ ดังนี้1) ปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ ความรู้ในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง ต่างๆ เจตคติต่อการทำพฤติกรรมเสี่ยง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยง ความฉลาดทางอารมณ์ และการบริหารจัดการเวลา 2) ปัจจัยระดับครอบครัว ได้แก่ การควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ปกครอง และสัมพันธภาพ ภายในครอบครัว และ 3) ปัจจัยระดับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การชักชวนจากเพื่อน สื่อและเทคโนโลยีที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม เสี่ยง ซึ่งปัจจัยหลักที่พบเหล่านี้ควรให้ ความสำคัญโดยนำมาใช้ ในการวางแผนจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันปัญหาพหุพฤติกรรม เสี่ยงให้กับวัยรุ่นไทย เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของวัยรุ่น พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลวัยรุ่น ควรมีการ ปรับเปลี่ยนมุมมองในการแก้ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นให้มากกว่าการมองเพียงแค่พฤติกรรมเสี่ยงเดียว โดยควรมองใน ลักษณะพหุพฤติกรรมเสี่ยง ร่วมกับการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยครอบคลุมทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาวัยรุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-01