วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพทารกของครอบครัวชนเผ่าผู้ไทย จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • รุ้งลาวัลย์ เอี่ยมกุศลกิจ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ, การดูแลทารก, ครอบครัว, ชนเผ่าผู้ไทย, การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา

บทคัดย่อ

          ครอบครัวชนเผ่าผู้ไทยจังหวัดนครพนมมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ ใช้ ในการดู แลสุ ขภาพทารก การศึกษาครั้งนี้มุ่งอธิบายวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพทารกของครอบครัวชนเผ่าผู้ไทยในจังหวัดนครพนม โดยใช้การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตมารดาที่มีบุตรวัยทารก 22 ราย คุณย่าหรือคุณยายที่เคยเลี้ยงดูทารก จำนวน 16 ราย และปราชญ์ชาวบ้าน 5 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ใจความหลักและสถิติเชิงบรรยาย

          ผลการศึกษาพบว่า ครอบครัวมีวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพทารกที่เป็นแบบ “องค์รวมและผสมผสาน” ตลอดช่วงการเป็นวัยทารก โดยการดู แลแบบองค์ รวมเป็นการดูแลบนพื้นฐานความเชื่อที่ ครอบคลุมทั้งการดู แลด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณของทารก ที่ผสมผสานระหว่างการดูแลแบบสมัยใหม่กับการใช้ภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมา พยาบาลวิชาชีพควรให้ความสำคัญและจัดระบบบริการสุขภาพที่หอผู้ป่วยหลังคลอดและหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของครอบครัวในการดูแลสุขภาพทารกตั้งแต่แรกคลอด ส่วนในชุมชนบุคลากรสุขภาพควรประยุกต์ใช้ วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพของครอบครัวชนเผ่าผู้ไทยในการส่งเสริมสุขภาพทารกแบบองค์รวมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-01