สถานการณ์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะ ของกลุ่มวัยแรงงาน ในจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
วัยแรงงาน, ความรู้, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การใช้ยาปฏิชีวนะบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์และปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะของกลุ่มวัยแรงงานในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างคือวัยแรงงานอายุ18 – 59 ปี จำนวน 495 คนที่คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่า อัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.86 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Multiple logistic regression นำเสนอ ค่า Adjusted OR พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.02 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ76.77 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 81.01 มีอายุเฉลี่ย 42.31 ± 10.30 ปี จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 40.20 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 30.41 มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 75.15 ความชุกในการใช้ยาปฏิชีวนะในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 36.16 (95%CI =32-40) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องยาและการใช้ยา ปฏิชีวนะอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 37.98 ข้อที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด คือยาปฏิชีวนะคือยาแก้อักเสบ ร้อยละ 83.03 และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 60.61 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มวัยแรงงาน ได้แก่ ผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรม (adj. OR= 2.04; 95%CI = 1.17 – 3.52, p – value = .011) มีระดับความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะต่ำ (adj. OR=1.70; 95%CI = 1.04 –2.78, p – value = 0.034) มีการรับรู้ความรุนแรงจากการใช้ยาปฏิชีวนะระดับต่ำ-ปานกลาง (adj. OR= 4.10; 95%CI = 2.54 – 6.60, p – value <.001) มีการรับรู้อุปสรรคในการใช้ยาปฏิชีวนะระดับต่ำ-ปานกลาง (adj. OR= 2.79, 95%CI = 1.39– 5.58, p – value =.004) มีระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการใช้ยาปฏิชีวนะระดับต่ำ- ปานกลาง (adj. OR = 1.70 ; 95%CI=1.06-2.72, p – value =0.027) และมีสิ่งชักนำที่ทำให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะระดับสูง (adj. OR = 2.22; 95%CI = 1.05–4.69, p – value = .036)
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น