การพัฒนาและทดสอบเครื่องมือประเมินความต้องการดูแล ด้านจิตวิญญาณสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายในบริบทวัฒนธรรมไทย
คำสำคัญ:
การพัฒนาและทดสอบเครื่องมือ, ความต้องการดูแลด้านจิตวิญญาณ, ผู้ป่วยระยะท้าย, บริบทวัฒนธรรมไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบประเมินความต้องการดูแลด้านจิตวิญญาณสำหรับผู้ป่วยระยะท้าย และ 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้ความต้องการดูแลด้านจิตวิญญาณสำหรับผู้ป่วยระยะท้าย ในบริบทวัฒนธรรมไทย ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) 3 ระยะ ระยะที่ 1 พัฒนาโครงสร้างองค์ประกอบและข้อรายการแบบ ประเมินด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ประกอบด้วย การสังเคราะห์วรรณกรรม การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย การสนทนากลุ่มกับครอบครัวและกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย นำข้อสรุปการสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดมาสร้างเป็นแบบประเมินเพื่อนำไปใช้ในระยะที่ 2 และ 3 ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ระยะที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 17 คน ด้วยเดลไฟล์เทคนิค วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไตล์ ตรวจสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .89 และระยะที่ 3 ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยเลือกแบบเจาะจง 321 คน วิเคราะห์องค์ประกอบหมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแม็กซ์ และจัดสนทนากลุ่มพยาบาลวิชาชีพประเมินผลการนำแบบประเมินไปใช้ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
- แบบประเมินความต้องการดูแลด้านจิตวิญญาณสำหรับผู้ป่วยระยะท้าย มีโครงสร้างองค์ประกอบ 7 ด้าน จำนวน 31 ข้อรายการ ได้แก่ 1) การมีความหมาย มีคุณค่า และมีเป้าหมายในชีวิต 2) การได้ปฏิบัติ กิจกรรมตามความเชื่อ ความศรัทธาและพิธีกรรมทางศาสนา 3) ความต้องการการช่วยเหลือเพื่อคงไว้ซึ่งความ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 4) การได้มี โอกาสทำสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต 5) การทบทวนประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา 6) ความต้องการจากไปอย่างสงบไม่ทุกข์ทรมาน และ 7) การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ความตาย โดยแต่ละตัวประกอบมีค่าไอเกนระหว่าง 1.053-9.631 และค่าความ แปรปรวนรวมร้อยละ 64.15
- ผลการนำแบบประเมินไปใช้จริงจากการสนทนากลุ่มกับพยาบาลวิชาชีพ พบว่า โครงสร้างและข้อรายการสามารถใช้ ประเมินความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายได้จริง จึงควรทำคู่มือและเกณฑ์การประเมินประกอบเพื่อนำไปประเมินความ ต้องการดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะท้าย และเป็นแนวทางวางแผนการดูแลด้านจิตวิญญาณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Downloads
References
2. World Health Organization. WHO Definition of Palliative Care [internet]. 2014. [cited 2015 December 3]. Available from: https://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/
3. Jaturapatporn D. The method for assessment with Palliative Performance Scale (PPS). [internet]. 2015. [cited 2018 December 27]. Available from: https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/ palliativecare/tools/doctorpalliative3th
4. Wisesrith W, Khungern J. The analysis of palliative care situations in Thai context. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine 2006;7(3):12-20. (in Thai)
5. Daaleman TP, Reed D, Cohen LW, Zimmerman S. Development and Preliminary Testing of the Quality of Spiritual Care Scale. Journal of Pain and Symptom Management 2014;47(4):793-800.
6. Benito E, Oliver A, Galiana L, Barreto P, Pascual A, Gomis C, Barbero J. Development and Validation of a New Tool for the Assessment and Spiritual Care of Palliative Care Patients. Journal of Pain and Symptom Management 2014;47(6):1008-18.
7. Astrow BA. A Chinese Version of the Spiritual Needs Assessment for Patients Survey Instrument. Journal of Palliative Medicine 2012;15(12):1297-305.
8. Hocker A, Krull A, Koch U, Mehnert A. Exploring spiritual needs and their associated factors in an urban sample of early and advanced cancer patients. European Journal of Cancer Care 2014;23:786–94.
9. Blaber M, Jones J, Willis D. Spiritual care: which is the best assessment tool for palliative settings. International Journal of Palliative Nursing 2015;21(9):430-8.
10. Lin YL, Rau KM, Liu YH, Lin YH, Ying J, Kao CC. Development and validation of the Chinese Version of Spiritual Interests Related Illness Tool for patients with cancer in Taiwan. European Journal of Oncology Nursing 2015; 19:589-94.
11. Boonyarat J, Uppanisakorn S. The spirituality care in Intensive Patients and familys in Intensive Care Unit: Nursing Experiences. Princess of Narathiwat University Journal 2014;4(1):1-13. (in Thai)
12. Borneman T, Ferrell B, Puchalski CM. Evaluation of the FICA Tool for Spiritual Assessment. Journal of Pain and Symptom Management 2010;40(2):163-73.
13. Lin YL, Rau KM, Liu YH, Lin YH, Ying J, Kao CC. Development and validation of the Chinese Version of Spiritual Interests Related Illness Tool for patients with cancer in Taiwan. European Journal of Oncology Nursing 2015;19:589-94.
14. Shim EJ, Lee KS, Park JH, Park JH. Comprehensive needs assessment tool in cancer (CNAT): the development and validation. Support Care Cancer 2011;19:1957–68.
15. Leow M, Chan M, Chan S. Predictors of Change in Quality of Life of Family Caregivers of Patients Near the End of Life with Advanced Cancer. Cancer Nursing 2014;37(5):391-9.
16. Cobb M, Dowrick C, Lloyd-Williams M. What Can We Learn About the Spiritual Needs of Palliative Care Patients from the Research Literature? Journal of Pain and Symptom Management 2012;43(6):1105-19.
17. Kyle EK, Grace SC, Vineet A, David OM, Farr AC. Religiosity, Spirituality, and End-of-Life Planning: A Single-Site Survey of Medical Inpatients. Journal of Pain and Symptom Management 2012;44(6):843-51.
18. Currow DC, Allingham S, Yates P, Johnson C, Clark K, Eagar K. Improving national hospice/palliative care service symptom outcomes systematically through point-of-care data collection, structured feedback and benchmarking. Support Care Cancer 2015;23:307–15.
19. Sirilla J, Overcash J. Quality of life (QOL), supportive care, and spirituality in hematopoietic stem cell transplant (HSCT) patients. Support Care Cancer 2013;21:1137–44.
20. Charalambous A, Adamakidou T. Construction and validation of the quality of oncology nursing care scale (QONCS). BMC Nursing 2014;13(48):1-10.
21. Kaewmanee C, Nanthachaipan P, Sittisombut S. Spiritual Needs of Persons with Cholangiocarcinoma. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2014;15-28. (in Thai)
22. Vilalta A, Valls J, Porta J, Vinas J. Evaluation of Spiritual Needs of Patients with Advanced Cancer in a Palliative Care Unit. J Palliat Med. 2014;17(5),592-9. retical model of health behavior change. Perspectives on Sexual and Reproductive Health 2011;43(1):23-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น