คุณภาพชีวิตเกษตรกรปลูกยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, เกษตรกร, ยางพาราบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตเกษตรกรปลูกยางพารา ปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างจำนวน 348 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรปลูกยางพารามีคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.42, S.D. = 0.36)สำหรับปัญหาที่ทำให้เกษตรกรปลูกยางพารามีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับไม่ดีถึงระดับปานกลาง ได้แก่ การได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน อาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก การไม่ออกกำลังกาย การไม่หยุดพักระหว่างการทำงานในกระบวนการผลิตยางพารา และความเครียด ที่เกิดจากผลผลิตไม่ได้ตามเป้าที่ต้องการ และความไม่เสถียรภาพของราคาผลผลิต สิ่งที่เกษตรกรปลูกยางพาราต้องการใหม่ขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของตนเอง ได้แก่ การประกันราคายางและกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ การลดต้นทุนการผลิต การตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดอย่างสม่ำเสมอ การให้ความรู้เกี่ยวกับความเครียดและวิธีการคลายความเครียดที่เหมาะสม
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น