ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 1 – 3 จังหวัดตราด
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรัง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, การรับรู้ภาวะสุขภาพ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ภาวะสุขภาพ ระยะเวลาการเจ็บป่วย ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ในจังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ที่มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคไต โรงพยาบาลตราด จำนวน 96 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่ายแบบไม่ใส่คืน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการตนเองอยู่ในระดับต่ำ โดยการรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (r = .406, r = .316, r = .498 ตามลำดับ) ส่วนระยะเวลาการเจ็บป่วยและความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง
ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 มีการรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและได้รับการสนับสนุนทางสังคมอย่างเพียงพอ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 มีความสามารถในการจัดการตนเองที่เหมาะสม
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น