ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดไม่ได้

ผู้แต่ง

  • สุจิตรสา บุญประสิทธิ์
  • สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์
  • ชมนาด สุ่มเงิน

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน, การควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด, การจัดการตนเอง

บทคัดย่อ

          การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญโดยเฉพาะในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) การจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรค เบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ความรู้ในการดูแลตนเอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกเฉพาะโรคเบาหวาน โรงพยาบาลไชโย จำนวน 100 ราย ที่ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ในการดูแลตนเอง แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88, .93, .95 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 70.10 (SD = 12.44) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความรู้ในการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ในระดับปานกลาง (r= .65, .36, .30 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมการจัดการตนเองในการควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยเน้นให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน เพื่อส่งเสริมความรู้ในการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย