การประเมินสมรรถนะของผู้สำ เร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลฉุกเฉิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
คำสำคัญ:
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉินบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉิน รุ่นที่ 5 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ กลุ่ม ตวอย่างเป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุก เฉิน จำนวน 60 คน และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการอบรม จำนวน 44 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินสมรรถนะ 11 ด้าน ของผู้สำเร็จการอบรมตามการรับรู้ของตนเอง และผู้บังคับบัญชา ประกอบด้วย 11 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติการพยาบาลในภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน ด้านการคัดกรอง และประเมินอาการในภาวะฉุกเฉิน ด้านการฟื้นคืนชีพขั้นสูง ด้านการทำงานเป็นทีมและการประสานงาน ด้านการติดต่อสื่อสารด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมการบริการ ด้านการจัดสถานการณ์ฉุกเฉินกลุ่มชนและภัยพิบัติ ด้านภาวะผู้นำด้านกฎหมาย จริยธรรมและพิทักษ์สิทธ์ิ ด้านการวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อผู้ป่วย และด้านวิชาการและพัฒนาคุณภาพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้สำเร็จการอบรมต่อสมรรถนะของตนเอง และผู้บังคับบัญชาต่อสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าคอนบาร์คเท่ากับ 0.87 โดยวิธีส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (independent T-test)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉิน และผู้บังคับบัญชาระดับต้นมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ผู้สำเร็จการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะทางการพยาบาลฉุกเฉินอยู่ในระดับดี ( = 4.30, SD=0.40 และ ( = 4.33, SD = 0.57)
2. ผู้สำเร็จการอบรมประเมินสมรรถนะของตนเองโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อจำแนกรายด้าน ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ย ของสมรรถนะอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมบริการ (mean =4.54, SD = 0.53) รองลงมาคือ สมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลในภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน ( = 4.5, SD = 0.51)
3. ระดับสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลฉุกเฉิน ตามความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาระดับต้น จำแนกรายด้านพบว่า ระดับสมรรถนะดีมาก คือ สมรรถนะด้านการคัดกรองและการประเมิน อาการในภาวะฉุกเฉิน (mean= 4.36, SD = 0.58) สมรรถนะด้านการฟื้นคืนชีพขั้นสูง (mean= 4.36, SD = 0.59)
4. เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉินระหว่างความคิดเห็นของผู้สำเร็จการอบรมและผู้บังคับบัญชาระดับต้น พบว่ากลุ่ม ตัวอย่างทั้งสองมีความเห็นต่อสมรรถนะทุกด้านของผู้สำเร็จการอบรมแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น