ผลของการสอนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตต่อทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • นุสรา นามเดช
  • จิราภา บุญศิลป์
  • นงคาร รางแดง
  • ดวงดาว อุบลแย้ม

คำสำคัญ:

การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์, ทักษะทางปัญญา, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยคร้งั นี้ เป็นการวิจัยแบบกล่มุ เดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest– posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการสอนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2557 จัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนของการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 6 ขั้นตอนเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ คือ ขั้นที่ 1) การระบุสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ขั้นที่ 2) การตั้งคำถาม ขั้นที่ 3) การค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ ขั้นที่ 4) การประเมินคุณภาพผลงานวิจัย ขั้นที่ 5) การนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปปฏิบัติ และขั้นที่ 6) การตรวจสอบผลการปฏิบัติรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบทักษะทางปัญญาจำนวน 2 ชุดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบทดสอบชุดที่ 1 และชุดที่ 2 เท่ากับ 0.88 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ t-test ในการทดสอบสมมติฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉล่ยี ทักษะทางปัญญาในภาพรวมหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่รี ะดับ .05 (t = 4.54 ) 

2.คะแนนเฉลี่ยทักษะทางปัญญาด้านการคิดวิเคราะห์ และด้านการสืบค้นข้อมูลหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 4.50 และ 3.72 ตามลำดับ) ส่วนคะแนนเฉลี่ยทักษะทางปัญญาด้านการคิดวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.42 และ 2.73 ตามลำดับ)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-05