ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแกว่งแขนโดยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุระดับต้นในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • มยุรา สร้อยชื่อ
  • ศรัณญา เบญจกุล
  • มณฑา เก่งการพานิช
  • ธราดล เก่งการพานิช

คำสำคัญ:

โปรแกรมการออกกำลังกายแกว่งแขน; การรับรู้ความสามารถตนเอง; แรงสนับสนุนทางสังคม; พฤติกรรม การออกกำลังกายแกว่งแขน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่ง ทดลองแบบสองกลุ่มวัด ผลก่อน-หลังนี้ มีวัตถุป ระสงค์เพี่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแกว่ง แขนโดยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุระดับต้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาศึกษา 11 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมประกอบด้ว ยการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายแกว่งแขน การสร้างให้เกิดการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติการออกกำลังกายแกว่งแขน และการให้แรงสนับสนุนทางสังคม โดยการเยี่ยมบ้านและโทรศัพท์ เก็บรวมรวมข้อมูลก่อนและหลังทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีการเปลี่ยนแปลงความรู้เรื่องการออกกำลังกายแกว่งแขน การรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกายแกว่งแขน และมีความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติการออกกำลังกายแกว่งแขนดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p < .05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีการเปลี่ยนแปลงความรู้เรื่องการออกกำลังกายแกว่งแขน การรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกายแกว่งแขน และมีความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติการออกกำลังกายแกว่งแขนไม่แตกต่างกัน (p > .05) สำหรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่ากลุ่มทดลองปฏิบัติการออกกำลังกายตามเกณฑ์ได้มากกว่ากลุ่มเปรียเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 85.2 และ ร้อยละ 6.7, p < .001) สรุปว่าโปรแกรมการออกกำลังกายแกว่งแขนโดยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถช่วยให้กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการออกกำลังกายตามเกณฑ์ได้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-05