ผลสำเร็จของการค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจยากเพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจให้เหมาะสมโดยใช้การประเมินหลายวิธีร่วมกัน

Main Article Content

บุญธิดา ลิมาพงษ์ภาส
จุฬาลักษณ์ โชติกมณิย์
มนัสนันท์ ศิริสกุลเวโรจน์
ณภัทร ไวปุรินทะ
กาญจนา โกกิละนันทน์
อัจฉรา ประสิทธิสุขสม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Restrospective) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสำเร็จของการค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจยาก และจัดเตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจให้เหมาะสม โดยใช้การประเมินหลายวิธีร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วไปแบบใส่ท่อช่วยหายใจในสถาบันบำราศนราดูรโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและใบบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึกมีจำนวน 1,249 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่1 ประเมิน modified mallampati เพียงอย่างเดียว จำนวน 727 ราย กลุ่มที่2 ประเมิน mallampati ร่วมกับการประเมินระยะ mento - thyroid, meto - hyoid และ atlanto - occipital joint extension จำนวน 522 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ พบว่าการปรับปรุงการประเมินความเสี่ยงของการใส่ท่อช่วยหายใจยากในหลายวิธีร่วมกัน และการจัดเตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจให้เหมาะสม สามารถค้นพบผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการใส่ท่อช่วยหายใจยากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.06 เป็นร้อยละ 6.31 เพิ่มขึ้น 224% ส่งผลให้ลดจำนวนของผู้ป่วยในกลุ่มที่ประเมินพบความเสี่ยงในการใส่ท่อหายใจยากที่ต้องใช้ความพยายามใส่ท่อช่วยหายใจมากกว่า 1 ครั้งจากร้อยละ 2.06 เป็นร้อยละ 1.15 ลดลง 40

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. อุมาภรณ์ พงษ์พันธุ์, จุรีย์พร จันทร์ขาว. ผลการดำเนินงานเกี่ยวกับภาวะใส่ท่อช่วยหายใจยากในโรงพยาบาลลำปาง. วิสัญญีสาร 2551; 34: 175-81.

2. ประเสริฐ สวัสดิ์วิภาชัย. Management of Difficult Airway (การดูแลผู้ป่วยที่ช่วย หายใจหรือใส่ท่อช่วยหายใจยาก. ฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา 2552: 53-62.

3. Sherry Boschert. Think L - E - M - O - N When Assessing a Difficult Airway. [Internet]. 2007 [cited 2013 may 22]; Avaiable from: www.acep.org

4. Dr.Sunanda Gupta, Dr.Rajesh Sharma KR, Dr.Dimpel Jain. Airway Assessment: Predictors of Difficult Airway. Indian J Anaesth 2005; 49(4): 257-62.

5. Lee A, Fan, Gin, Karmakar MK, Ngan Kee WD. A systematic review (meta-Analysis) of the accuracy of the Mallampati tests to predict the difficultairway. Anesth Analg 2006; 102: 1867-78.

6. Elida Orozco - Diaz, Juan Jorge Alvarez - Rios, Jose Luis Arceo - Diaz, Jose Manuel Ornelas-Aguirre. Predictive factors of difficult airway with Known assessment scales. Cir Cir 2010; 78: 393-9.

7. Christopher Evan Hester, Shhelli Ann Dietrich, Samuel Wayne White, Janet A. Secrest, Kay Russell Lindgren, Timothy Smit. A comparison of preoperative airway assessment techniques: The modified mallampati and the upper lip bite test. AANA Journal 2007; 75: 177-82.

8. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2550.

9. วรรณา สมบูรณ์วิบูลย์, เทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์, ปวีณา บุญบูรพงศ์, สมรัตน์ จารุลักษณานันท์. วิสัญญีวิทยาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2544.

10. สมยงค์ ศรีชัยปัญหา, กฤษณา สำเร็จ, พลพันธ์ บุญมาก, สุเจตนา ภูมิสวาสดิ์,สุหัทยา บุญมาก. Surveillance of and Risk Factors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. [อินเตอร์เน็ต]. 2007 [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ค. 2556]; เข้าถึงได้จาก: http://images.mongkol1.multiply. Multiplycontent.com

11. Diane M.Birnbaumer. Airway Assessment Using "LEMON" Score Predicts Difficult ED Intubation. [Internet]. 2005 [cited 2013 may 22]; Avaiable from: www.jwatch.org/em