ผลของการให้คำปรึกษาตามทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการยอมรับความตายในผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรค

Main Article Content

สุคนธ์ ศรีคล่องอักขระ
อำภาพร พัววิไล
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปรับตัวต่อความตาย และผลของกระบวนการให้คำปรึกษาตามทฤษฎีเผชิญความจริง (Glasser, 1965) ยอมรับความตาย และการเตรียมตัวสำหรับความตายของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคปอด กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคปอดที่รับไว้ในแผนกอายุรกรรมจำนวน 14 ราย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์การยอมรับความตาย แบบสัมภาษณ์ การเตรียมตัวสำหรับการเข้าสู่ระยะสุดท้าย และความตายแบบบันทึกปฏิกิริยาต่อความตายของผู้ป่วยตามระยะของ Kubler - Ross แบบบันทึกการให้คำปรึกษา และการดูแลผู้ป่วย ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคปอด ส่วนใหญ่สามารถปรับตัวยอมรับ และสามารถเผชิญสภาพความเป็นจริงได้แม้ว่าจะมีความรู้สึกกลัวและรู้สึกผิดอยู่ก็ตาม โดยกระบวนการปรับตัวเพื่อเผชิญความจริงตามขั้นตอนของ Glasser เป็นดังนี้ (1) การสร้างสัมพันธภาพ: สร้างความคุ้นเคย และติดตามความก้าวหน้าของอาการอย่างสม่ำเสมอ (2) การสำรวจปัญหา/ความต้องการของผู้ป่วย: ความไม่สุขสบายจากอาการของโรคความกลัว (กลัวความรังเกียจและไม่ยอมรับ กลัวจะไม่มีคนดูแล กลัวสภาพจะน่าเกลียดก่อนตาย กลัวทำงานไม่ได้กลัวทุกข์ทรมานก่อนตาย) ความห่วงกังวล ห่วงครอบครัวและคนใกล้ชิด (3) การเผชิญสภาพความเป็นจริง: ทำใจยอมรับด้วยธรรมะ และสมาธิพร้อมที่จะตาย (การเตรียมตัว การตายท่ามกลางคนใกล้ชิด ดีที่ได้รู้ล่วงหน้า) ทำดีที่สุดเพื่อคนที่อยู่(การเก็บเงินเพื่อครอบครัว ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า) การสนับสนุนและกำลังใจจากคนใกล้ชิด (4) การสร้างข้อสัญญาผูกพัน และการวางโครงการ: ดูแลตนเองให้ดีที่สุด (ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์และจิตใจ) และ (5) การติดตามการปฏิบัติตามโครงการ: พร้อมแล้วที่จะก้าวต่อไป (มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตชัดเจนขึ้น) และเมื่อทดสอบค่าคะแนนการเตรียมตัวสำหรับความตาย โดยใช้สถิติWilcoxon signed - ranks test พบว่าหลังการให้คำปรึกษาสูงกว่าก่อนการให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(Z = -3.33, p = 0.000) ค่าคะแนนการเตรียมตัวด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ สำหรับความตายหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ(Z = - 3.33, p = 0.000: Z = - 3.08, p = 0.001: Z = -2.83, p = 0.002 และ Z = - 2.62, p = 0.004 ตามลำดับ) และค่าคะแนนการยอมรับความตายหลังให้การปรึกษาตามทฤษฎี เผชิญความจริงสูงกว่าก่อนให้การปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(Z = - 3.21, p = 0.000)


          ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการพยาบาล คือแนวทางการให้คำปรึกษาที่พัฒนาขึ้นนี้เหมาะสมที่จะนำไปในการดูแลผู้ป่วยเป็นรายบุคคลระหว่างอยู่รับการรักษาในหอผู้ป่วย และเน้นบทบาทการให้คำปรึกษาของพยาบาลมากขึ้นร่วมกับการใช้แหล่งประโยชน์จากครอบครัวหรือคนใกล้ชิด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการปรับตัวได้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะ คือการพัฒนากระบวนการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ไปเป็นแนวปฏิบัติทางการพยาบาลและนำไปทดลองใช้เพื่อที่จะได้แนวปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้ กว้างขวางต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมควบคุมโรค, สำนักระบาดวิทยา, กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2547.

2. กรมควบคุมโรค, สำนักระบาดวิทยา, กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรการรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์; 2547.

3. กองระบาดวิทยา, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์เอดส์. Health Library for Thai 2544: 44.

4. ขวัญตา บาลทิพย์. ประสบการณ์การรับรู้เกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยเอดส์ ณ วัดแห่งหนึ่งทางภาคใต้. [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลา; 2541.

5. ชาคริต สุดสายเนตร. วิธีการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อผ่อนคลายความวิตกกังวลต่อความตายของผู้ป่วยโรคเอดส์. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.

6. พัชรี ตั้งกุลยางกูร, ชลอศักดิ์ ลักษณะวงศ์ศรี. การสื่อสารและการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข; 2540.

7. สมจิต หนุเจริญกุล. การบริการสุขภาพด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: เจวีพรินติง; 2550.

8. องค์การอนามัยโลก. วัณโรคชนิดดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) คุกคามประเทศไทยจริงหรือผลการทบทวนรายงานการวิจัย 55 เรื่องระหว่าง พ.ศ. 2511-2541. ม.ป.ท.: 2541.

9. อมร ลีลารัศมี และสุรพล สุวรรณกูล. ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์โรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์. กรุงเทพฯ: บริษัทพีทีพริ้นท์; 2536.

10. อุทยา นาคเจริญ. การเตรียมตัวสำหรับความตายของผู้ติดเชื้อเอชไอวี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.

11. Kubler Ross E. Death and Dying. New York: MacMillan; 1969.

12. Rose MA, Alexander BC. Coping Behaviors of Mother with HIV AIDS. AIDS Patient Care and STDS 1996; 7: 44-47.