การค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จากกลุ่มผู้สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิด

Main Article Content

ปิยะวดี ฉาไธสง
เสาวลักษณ์ อภิสุข
กัญญลักษณ์ ทองนุ่ม
วรุณยุพา สกล
สมคิด เกิดแก่น
มานพ เทพสุภา
ศรีสุดา สมัดชัย
อุไรพร แสงมณี

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบพรรณนา (Descriptive) เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จากกลุ่มผู้สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิด และเพื่อศึกษาความรู้เรื่องวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ2557 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ 2558 พบว่าในช่วงระยะเวลา พ.ย.2557-มิ.ย2558 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 26 รายมีผู้สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิด ทั้งหมด 34 ราย โดยผู้สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดมีอายุเฉลี่ย   40.88 ปี โดยมีอายุน้อยที่สุด 25ปี อายุมากที่สุด 60 ปี เป็นเพศชาย 20 ราย(58.8%) เพศหญิง 14 ราย(41.2%) ส่วนมากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี 19 ราย(55.9%) ส่วนมากจะเป็นคู่สมรส 20 ราย(58.8%) มี 8 ราย(23.53%) ที่มีโรคประจำตัว มี3ราย(8.8%) ที่มีอาการเข้ากับวัณโรคคือ ไข้ ไอ น้ำหนักลด การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านโดยส่วนมากอาศัยอยู่บ้านเดียวกันไม่ได้มีห้องแยกจากผู้ป่วย มีเพียง 3 รายที่มีคนในชุมชนป่วยด้วยวัณโรค และจากการคัดกรองวัณโรคเบื้องต้นทั้งผลการตรวจเสมหะและการถ่ายภาพรังสีปอดของผู้สัมผัสใกล้ชิดทั้ง 34 รายพบว่าผลการตรวจปกติทั้งหมด ดังนั้นอัตราอุบัติการณ์ของโรค = 0  เนื่องจากไม่พบอุบัติการณ์การเกิดของโรควัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดอาจจะเป็นเพราะว่าในช่วงระยะเวลาที่เก็บข้อมูลได้กลุ่มตัวอย่างน้อยอาจทำให้ไม่พบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดต่อไป ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค ผู้ดูแลมีคะแนนความรู้ในเรื่องวัณโรคสูง ร้อยละ 82.35

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. นาฎพธู สงวนวงค์, มนะพล กุลประณีต, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

2. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์; 2551.

3. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ.2556. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

4. ปิยวรรณ สิงห์คำป้อง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อาศัยอยู่กับผู้ป่วยโรคปอด จังหวัดกาฬสินธ์ [สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

5. วิภาพร แท่นคำ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เจตคติ พฤติกรรมป้องกันโรคกับการติดต่อโรคของครอบครัวผู้ป่วย วัณโรคปอด จังหวัดอุบลราชานี. สาธารณสุข มหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎ อุบลราชธานี; 2554.

6. เครือวัลย์ ดิษเจริญ. การค้นหารายป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยความร่วมมือของสมาชิกในครอบครัวและอาสาสมัครงานวัณโรค อำเภอเสลภูมิ-ทุงเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.