ศึกษาการจัดการความปวดและความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Main Article Content

นภสร จั่นเพ็ชร

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นวิจัยแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม- 30 พฤศจิกายน 2561 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป และได้รับการดูแลที่ห้องพักฟื้น จำนวน 100 ราย โดยกระบวนการจัดการความปวดที่ผู้ป่วยจะได้รับ การดูแลจากห้องพักฟื้น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) ระยะก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับความรู้เรื่องการจัดการความปวดก่อนการผ่าตัด 2) ระหว่างผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับยาระงับปวด/บรรเทาอาการปวด และ 3) ระยะหลังผ่าตัด ระหว่าง 30-60 นาที ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่พักฟื้นหลังผ่าตัด และจะได้รับการเยี่ยมหลังผ่าตัดในระยะ 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการผ่าตัด การประเมินคะแนนความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นเมื่อแรกรับ 30 นาที และ 60 นาทีก่อนที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกลับหอผู้ป่วย รวมทั้งประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยในการจัดการความปวดในห้องพักฟื้นและระยะ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) แสดงด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความปวดที่ผู้ป่วยได้รับในระยะก่อนผ่าตัดร้อยละ 41 ผู้ป่วยไม่ได้รับความรู้ก่อนการผ่าตัดมีเพียงร้อยละ 35 ที่ผู้ป่วยได้รับความรู้การจัดการความปวดจากวิสัญญีพยาบาล ด้านการประเมินระดับความปวดก่อนการผ่าตัด พบว่า ร้อยละ 47 ผู้ป่วยไม่มีอาการปวด, ร้อยละ 16 มีระดับปวดปานกลาง และร้อยละ 14 มีระดับความปวดมากที่สุด ซึ่งก่อนผ่าตัดร้อยละ 96 ผู้ป่วยไม่ได้รับยาแก้ปวด แต่ในระยะผ่าตัดและระยะพักฟื้น พบว่ามีการใช้ยา Morphine เพื่อระงับปวดมากที่สุดถึงร้อยละ 85 และร้อยละ 56 ตามลำดับ ซึ่งในระยะพักฟื้นนี้ได้จัดท่าเพื่อลดความปวดแทนการใช้ยา คิดเป็นร้อยละ 5 และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Meissner W, Coluzzi F, Fletcher D, Huygen F, Morlion B, Neugebauer E, et al. Improving the management of post-operative acute pain: priorities for change. Curr Med Res Opin 2015; 31(11): 2131-43.

2. Maurice SA, Auquier P, Viarre OV, Cuvillon P, Carles M, Ripart J, et al. Effect of sedative premedication on patient experience after general anesthesia: a randomized clinical trial. JAMA 2015; 313(9): 916-25.

3. Naqib D, Purvin M, Prasad R, Hanna IM, Dimitri S, Llufrio A, et al. Quality improvement initiative to improve postoperative pain with a clinical pathway and nursing education program. Pain Manag Nurs 2018; 19(5): 447-55.

4. Mann E, Carr E. Pain management, Foundation Studies for Caring: Using Student Centered Learning [internet]. Texas: Bristol-Myers Squibb Secure the Future Initiative ; 2018 [cited 2018 Jul 10]. 259 p. Available from: https://bipai.org/sites/bipai/files/HIV_Curriculum_Web.pdf#page=316

5. เสาวนันทา เลิศพงษ์, นงลักษณ์ สุศร. การศึกษาผลการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นในกลุ่มงานวิสัญญีวิทยาโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์ บุรีรัมย์ 2557; 29(2): 93-101.

6. วันเพ็ญ กันกา, พัทยา แพทองคำ, ขนิษฐา พันธุ์สุวรรณ. อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการได้รับยาแก้ปวดของผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารแพทย์เขต 4-5 2560; 36(2): 59-70.

7. ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์, มาลินี อยู่ใจเย็น. การพัฒนา แนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 2557; 30(1); 86-99.

8. Yamane, T. Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row Publishers; 1973.

9. นงลักษณ์ สุวิสิษฐ์, สมจิต หนุเจริญกุล. การพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการ พยาบาล. รามาธิบดีวารสาร 2554; (17): 246.

10. จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี, สุธีรา จักรกุล เหลืองสุขเจริญ. การประเมินผลการจัดการความปวดเฉียบพลันในโรงพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2552; 15(22): 303-14.