การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ตรงผ่านการส่องกล้องผ่าตัดช่องท้อง : ประสบการณ์ระยะแรกในโรงพยาบาลลำปาง

Main Article Content

พุทธิพงศ์ หริณวรรณ

Abstract

ภูมิหลัง: การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ตรงผ่านการส่องกล้องผ่าตัดช่องท้องเป็นส่วนหนึ่งของการผ่าตัดแบบแผลเล็ก การผ่าตัดนี้มีความท้าทายในหลายด้าน ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนที่นานกว่าการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ผ่านการส่องกล้องผ่าตัดช่องท้อง


วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอผลการผาตัดในระยะสั้นและประสบการณ์ในระยะแรกของการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ตรงผ่านการส่องกล้องผ่าตัดช่องท้อง


วัสดุและวิธีการ: มีผู้ป่วย 9 รายได้รับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ตรงผ่านการส่องกล้องผ่าตัดช่องท้อง ใน รพ.ลำปาง ช่วงเดือน ก.ค. 2565 - ก.พ. 2566 โดยศัลยแพทย์ 1 คน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ช่องอกและช่อง้ท้องร่วมกับคลื่นแม่เห่ล็กไฟฟ้าอุ้งเชิงกรานก่อนผ่าตัด ผู้ป่วย 4 รายที่มีรอยโรคบริเวณลำไส้ตรงส่วนล่าง ได้รับรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดและได้รับการผาตัดภายใน 8-12 สัปดาห์หลังจากรังสีรักษาและเคมีบำบัดวันสุดท้าย


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเป็นเพศหญิง 6 รายและเพศชาย 3 ราย อายุเฉลี่ย 61.0 ± 9.1 (พิสัย 44-70 ปี ) มะเร็งอยู่ที่ตำแหน่งรอยต่อระหว่างลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง 4 ราย, ลำไส้ตรงส่วนกลาง 1 รายและลำไส้ตรงส่วนล่าง 4 ราย ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด 210-480 นาที (เฉลี่ย 340 ± 95 นาที) เสียเลือดระหว่างการผ่าตัด 50-500 มล. (เฉลี่ย 161 ± 143 มล.) ระยะเวลานอนโรงพยาบาล 6-8วัน (เฉลี่ย7.1 ± 0.7 วัน) ผู้ป่วยทุกรายไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด ผลตรวจพยาธิวิทยาแสดงขอบเขตการตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่เอาออกเพียงพอ


สรุป: การผ่าตัดลำไส้ตรงผ่านการส่องกล้องผ่าตัดช่องท้องด้วยเทคนิคการผ่าตัดจำกัดด้านใกล้กลางมีประโยชน์อย่างมากในระยะสั้น การผ่านหลักสูตรฝึกอบรมหรือมีศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์ช่วยแนะนำสามารถช่วยให้การผ่าตัดบรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
หริณวรรณ พ. (2023). การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ตรงผ่านการส่องกล้องผ่าตัดช่องท้อง : ประสบการณ์ระยะแรกในโรงพยาบาลลำปาง. Lampang Medical Journal, 44(1), 9–15. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/LMJ/article/view/262594
Section
Original Article

References

Semm K. Endoscopic appendectomy. Endoscopy. 1983;15(02):59–64.

Gollan JL, Bulkley GB, Diehl AM, Elashoff JD, Federle MP, Henderson JM, et al. Gallstones and laparoscopic cholecystectomy. JAMA. 1993;269(8):1018–24.

Jacobs M, Verdeja JC, Goldstein HS. Minimally invasive colon resection (laparoscopiccolectomy). SurgLaparoscEndosc. 1991;1(3):144–50.

Heald RJ, Husband EM, Ryall RD. The mesorectum in rectal cancer surgery--the clue topelvic recurrence?. Br J Surg. 1982;69(10):613–6.

Heald RJ, Ryall RD. Recurrence and survival after total mesorectal excision for rectal cancer. Lancet.1986;1(8496):1479–82.

Heald RJ. The ‘Holy Plane’ of rectal surgery. J R Soc Med. 1988;81(9):503–8.

Steele RJ. Anterior resection with total mesorectal excision. J R Coll Surg Edinb.1999;44(1):40–5.

Kolarsick PA, Sacchi M, Spinelli A, Wexner SD. Minimizing the impact of colorectal surgery in the older patient: The role of minimally invasive surgery in the geriatric population. Eur J Surg Oncol. 2020;46(3):333–7.

Aly EH. Laparoscopic colorectal surgery: summary of the current evidence. Ann R Coll Surg Engl. 2009;91(7):541–4.

You YN, Hardiman KM, Bafford A, Poylin V, Francone TD, Davis K, et al. The American Society of Colon and Rectal Surgeons clinical practice guidelines for the management of rectal cancer. Dis Colon Rectum. 2020;63(9):1191–222.

Wexner SD, Fleshman JW. Colon and rectal surgery abdominal operations. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.

Steele SR, Hull TL, Hyman N, Maykel JA, Read TE, Whitlow CB. The ASCRS Textbook of colon and rectal surgery. 4th ed. New York : Springer;2022

Bonjer HJ, Deijen CL, Abis GA, Cuesta MA, van der Pas MH, de Lange-de Klerk ES, et al. A randomized trial of laparoscopic versus open surgery for rectal cancer. N Engl J Med. 2015;372(14):1324–32.

Kang SB, Park JW, Jeong SY, Nam BH, Choi HS, Kim DW, et al. Open versus laparoscopic surgery for mid or low rectal cancer after neoadjuvant chemoradiotherapy (COREAN trial): short-term outcomes of an open-label randomised controlled trial. Lancet Oncol. 2010;11(7):637–45.

Fleshman J, Branda M, Sargent DJ, Boller AM, George V, Abbas M, et al. Effect of laparoscopic -assisted resection vs open resection of stage II or III rectal cancer on pathologic outcomes: The ACOSOG Z6051 randomized clinical trial. JAMA. 2015;314(13):1346–55.

Stevenson AR, Solomon MJ, Lumley JW, Hewett P, Clouston AD, Gebski VJ, et al.Efect of laparoscopic-assisted resection vs open resection on pathological outcomes in rectal cancer: the ALaCaRT randomized clinical trial. JAMA. 2015;314(13):1356–63

Monson JR, Weiser MR, Buie WD, Chang GJ, Rafferty JF, Buie WD, et al. Practice parameters for the management of rectal cancer (revised). Dis Colon Rectum. 2013;56(5):535–50.