การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มจุดโฮ่วซี จุดจงจู่ จุดล่าวเจิ่น กับ จุดโฮ่วซี จุดเสวียนจง แบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ในการรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ : การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

Main Article Content

Bhasakit Wannawibool
Nattawut Tammarattananan
Tapanee Virojrat
Apinya Taveepansarn
Uthai Silaphiphattham

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์: ปัญหาสุขภาพในกลุ่มประชากรวัยทำงาน จากท่านั่งการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการหดเกร็ง โดยปัญหาของคนวัยทำงานที่พบมากที่สุดคืออาการปวดคอ บ่า ไหล่ ทางการแพทย์แผนปัจจุบันใช้วิธีการรักษาด้วยยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัด แพทย์แผนจีนใช้ยาสมุนไพรจีน นวดทุยหนา ครอบแก้ว การฝังเข็มบริเวณต้นคอ หัวไหล่ และการฝังเข็มที่จุดบริเวณมือและเท้า ซึ่งวิธีหลังนี้ใช้เข็มจำนวนน้อย มีความสะดวก ปลอดภัยและมีรายงานการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดคอบ่าไหล่ การศึกษานี้จึงเลือกจุดฝังเข็ม 3 จุดที่มือ ได้แก่ จุดโฮ่วซี จุดจงจู่ จุดล่าวเจิ่น ซึ่งมีตำแหน่งทางกายวิภาคชัดเจน หาจุดฝังเข็มได้ง่ายเป็นกลุ่มทดลอง และการฝังเข็มที่มือและเท้า จุดโฮ่วซี จุดเสวียนจงเป็นกลุ่มควบคุม เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษา


วิธีการศึกษา: ใช้การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอและไหล่โดยจำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน แต่ละกลุ่มได้รับการบำบัด 3 ครั้ง ประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยด้วยแบบสอบถามความเจ็บปวดของ McGill แบบย่อและแบบวัดความเจ็บปวดทางระบบประสาท Neuropathy Pain Scale (NPS) และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ANOVA


ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผลการรักษาทั้งสองกลุ่มสามารถลดอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายหลังการรักษาแต่ละครั้ง และพบว่าค่าเฉลี่ย (Mean) ก่อนการรักษาครั้งแรกและหลังการรักษาครั้งที่สามของการรักษาด้วยการฝังเข็มที่จุดโฮ่วซี จุดจงจู่ จุดล่าวเจิ่นแบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า จะมีค่าเฉลี่ยต่างกันเท่ากับ 5.53 เมื่อเปรียบเทียบแบบเดียวกันของการฝังเข็มที่จุดโฮ่วซี จุดเสวียนจง มีค่าเฉลี่ยต่างกันเท่ากับ 5.00


อภิปรายผล: ระดับความแตกต่างของผลการรักษาทั้งสามครั้งของทั้งสองวิธี ได้ผลดีในการระงับปวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มในทางสถิติ


ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: การรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ด้วยการฝังเข็มจุดโฮ่วซี จุดจงจู่ จุดล่าวเจิ่นและการฝังเข็มที่จุดโฮ่วซี จุดเสวียนจงมีประสิทธิผลในการรักษาใกล้เคียงกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การรักษาทั้ง 2 วิธีนี้จึงเป็นอีกทางเลือกในการรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ที่ง่าย สะดวก ได้ผลรวดเร็วและปลอดภัยที่สามารถนำไปใช้ในเวชปฏิบัติทางคลินิกได้

Article Details

บท
Original Articles

References

Pisanu S. Neck shoulder pain, a popular problem for office workers (syndrome). [Internet]. 2020 [cited 10 Feb 2024]; Available from: https://www.phyathai.com/th/article/3054-ปวดคอ_บ่า_ไหล่_ปัญหายอดฮิต (in Thai)

Department of Disease Control. Department of Disease Control invites office workers to adjust 3 levels to reduce aches and pains and reduce the risk of office syndrome. [Internet]. 2018 [cited 10 Feb 2024]; Available from: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/113832/. (in Thai)

Suthipas P. Neck pain, danger signal [Internet]. 2020 [cited 10 Feb 2024]; Available from: https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/hilight-news/3760/. (in Thai)

Thai Association for the Study of Pain. Recommendations for the treatment of myofascial pain syndrome & fibromyalgia 2020. Thai Association for the Study of Pain. 2020. P. 24-31.

Huachiew TCM Clinic. Cause of pain perspective on pain according to Chinese medicine [Internet]. 2023 [cited 10 Feb 2024]; Available from: https://www.huachiewtcm.com/content/7281/สาเหตุของอาการปวด-มุมมองความปวดตามศาสตร์แพทย์จีน. (in Thai)

Chen L, Wang HF, The law of cIinical optimum acupuncture selection on stiff neck of last ten years. Chinese Traditional Chinese Medicine Emergencies. 2018;27(11):1900-03

Tian L, Ma Tm. Acupuncture treatment of stiff neck. Journal of Practical Traditional Chinese Medicine and Internal Medicine. 2015;29(3):140-1

Yu X, Li HB, Wen SN, Progress in clinical research on acupuncture treatment for stiff neck. Journal of Liaoning University of Traditional Chinese Medicine. 2013;15(11):270-2

Wen JM, Xie PJ, Li T, Xie PL. Clinical research progress and discussion on the application of single point in the treatment of stiff neck. Journal of Liaoning University of TCM. 2016;18(7):213-6

Wu JH. 48 cases of stiff neck treated with Houxi Point Alone[J]. Hebei Traditional Chinese Medicine. 2006;28(8):623.

Zhang HL, Ju YL. Application of meridian differentiation of six points on neck and shoulder. Clinical Journal of Acupuncture and Moxibustion. 2010;26(8):54-5.