การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารโอเรียนทินและไวเทกซินในใบชะมวงด้วย วิธี Ultra High Performance Liquid Chromatography

Main Article Content

Peradhama Thiemthieprat
Thanawat Thongchin
Sayan Ruengkhet
Sakwichai Ontong
Siriwan Chaisomboonpan
Aussavashai Shuayprom

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์: ชะมวงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia cowa Roxb. ex Choisy
วงศ์ Clusiaceae ใบอ่อนของชะมวงมีรสเปรี้ยว ช่วยระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ และใช้เป็นอาหาร ปัจจุบันชะมวงถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีวิธีการควบคุมคุณภาพสารที่พบในใบชะมวง ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารโอเรียนทินและไวเทกซินในใบชะมวงด้วยวิธี Ultra High Performance Liquid Chromatography (UHPLC)


วิธีการศึกษา: แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารโอเรียนทินและไวเทกซินในใบชะมวงด้วยวิธี UHPLC การทดสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์และการวิเคราะห์ปริมาณสารโอเรียนทินและ
ไวเทกซินในใบชะมวงจำนวน 9 ตัวอย่าง


ผลการศึกษา: ผลการทดสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ดังกล่าว พบว่ากราฟมาตรฐานของโอเรียนทินและไวเทกซินมีลักษณะเป็นเส้นตรงในช่วงความเข้มข้น 1.32-127.01 และ 1.40-134.06 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.9999, ค่าร้อยละของการคืนกลับอยู่ในช่วง 96.26-103.15 % ขีดจำกัดของการตรวจพบของโอเรียนทินและไวเทกซิน มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.002 และ 0.003 โดยน้ำหนักแห้งของใบชะมวง (ไมโครกรัม/ไมโครกรัม) ตามลำดับ ในขณะที่ขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณมีค่าเท่ากับร้อยละ 0.006 และ 0.009 โดยน้ำหนักแห้งของใบชะมวง (ไมโครกรัม/ไมโครกรัม) ตามลำดับ ปริมาณโอเรียนทินและไวเทกซินในใบชะมวงมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.10 และ 0.06 โดยน้ำหนักแห้งของใบชะมวง (ไมโครกรัม/ไมโครกรัม) ตามลำดับ


อภิปรายผล: การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารโอเรียนทินและไวเทกซินในวัตถุดิบใบชะมวงด้วยเครื่อง UHPLC ที่พัฒนาขึ้น สกัดใบชะมวงแห้งด้วยตัวทำละลาย 50%เมทานอล โดยวิธีรีฟลักซ์ ผลการทดสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์พบว่าทุกค่าอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ วิธีการวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นใช้เวลาในการวิเคราะห์น้อย วิธีการเตรียมวัฏภาคเคลื่อนที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว


ข้อสรุป: วิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นนี้มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้เป็นวิธีตรวจวิเคราะห์ปริมาณสาร
โอเรียนทินและไวเทกซินในใบชะมวงและสามารถนำไปสู่การกำหนดเกณฑ์ปริมาณสารสำคัญในใบชะมวงต่อไป

Article Details

บท
Original Articles

References

Office of Forest Herbarium, Forest and Plant Conservation Research Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. Tem Smitinand’s Thai plant names. 2001 revised edition. Bangkok: National Office of Buddhism Printing House; 2001. 71 p. (inThai)

Boonyaprapat N, Chokchaicharoenporn O. Medicinal Plants indigenous to Thailand. Bangkok: Prachachon; 1996. 1(1): p. 761. (in Thai)

Pattamadilok D, Setakanna P, Kamphonchaidech S, Anulakkanapakorn K,

Wongsinkongman P. Chemical constituent of Garcinia cowa leaves extract. J Thai Trad Alt Med (Supplement). 2009; 7(2): 135. (in Thai)

Pattamadilok D, Niumsakul S, Limpeanchob N, Ingkaninan K, Wongsinkongman P. Chemical constituents and anti-hyperlipidemic activity of Garcinia cowa leaves. J Thai Trad Alt Med. 2010; 8(2-3): 158. (in Thai)

Ehab A. Abourashed, John R. Vanderplank, Ikhlas A. Khan. High-Speed Extraction and HPLC Fingerprinting of Medicinal Plants–I. Application to Passiflora Flavonoids, Pharmaceutical Biology. 2002; 40:2, 81-91, DOI: 10.1076/phbi.40.2.81.5844

Jin Wang, Yong-de Yue, Hao Jiang, Feng Tang. Rapid Screening for Flavone C-Glycosides in the Leaves of Different Species of Bamboo and Simultaneous Quantitation of Four Marker Compounds by HPLC-UV/DAD. International Journal of Analytical Chemistry. Volume 2012, Article ID 205101, 8 pages doi:10.1155/2012/205101

Paula Sepúlveda, Geison M. Costa, Diana Marcela Aragón, Freddy Ramos, Leonardo Castellanos. Analysis of vitexin in aqueous extracts and commercial products of Andean Passiflora species by UHPLC-DAD. Journal of Applied Pharmaceutical Science. 2018; 8(9): 081-086.

Department of Medical Sciences. A Practical Guide for Single Laboratory Method Validation of Chemical Methods. Nonthaburi: Department of Medical Sciences; 2006.