ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดเข่าร่วมการพอกด้วยสมุนไพร ในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า (โรคข้อเข่าเสื่อม)

Main Article Content

Kritsana Kotsook
Thanida Khunboonchan
Yolchai Jongjirasiri
Natthakit Pornbunditpattama
Janerawee Swangareerux
Siriratana Juntaramano
Sirirak Aratrakorn

บทคัดย่อ

              การศึกษาเรื่องประสิทธิผลและความปลอดภัยของหัตถการพอกเข่ากลุ่มผู้ป่วยโรคลมจับโป่งแห้งเข่าในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐเป็นการศึกษาเชิงการทดลอง (Randomized Controlled Trail ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลภูมิหลังของอาสาสมัครที่มีอาการปวดเข่าจากภาวะข้อเข่าเสื่อมหรือโรคลมจับโปงแห้งเข่าทางการแพทย์แผนไทย การประเมินประสิทธิผลทางคลินิก และความปลอดภัยจากอาการไม่พึงประสงค์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัครที่มีภาวะเข่าเสื่อมตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 300 คน จากโรงพยาบาล 9 แห่ง ใน 4 ภูมิภาค แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 150 คน และกลุ่มทดลอง 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลภูมิหลัง แบบประเมินประสิทธิผลทางคลินิก (WOMAC) แบบประเมินความปลอดภัยจากอาการไม่พึงประสงค์ และการประเมินระยะเข่าเสื่อมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์จากฟิล์มเอกซเรย์ เก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบทุกคน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Analysis of Variance (ANOVA)


              ผลการศึกษา อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 60 - 69 ปี มากที่สุด มีน้ำหนักตัว 51 - 70 กิโลกรัม และมีค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 25 - 29.9 กิโลกรัม/เมตร2 เมื่อประเมินภาวะเข่าเสื่อมจากฟิล์มเอกซเรย์ พบว่าส่วนใหญ่มีภาวะเข่าเสื่อมอยู่ในระยะ 2-3  และจากการประเมินทางคลินิกก่อน-หลังการให้หัตถการพอกเข่ารวม 5 ครั้ง จะพบว่า อาสาสมัครกลุ่มทดลองที่ได้รับการนวดร่วมกับการพอกเข่าจะมีความปวด และความฝืดลดลง โดยมีความสามารถในการใช้งานของข้อเข่าดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการนวดเพียงอย่างเดียว ส่วนการประเมินระยะเข่าเสื่อมกับอาการทางคลินิก 3 ด้าน จะพบว่า อาสาสมัครที่มีภาวะเข่าเสื่อมทุกระยะเมื่อได้รับการพอกเข่าร่วมด้วยจะมีอาการดีขึ้นทุกราย โดยอาสาสมัครที่มีภาวะเข่าเสื่อมระยะ 0-2 จะมีคะแนนค่าเฉลี่ยด้านความปวด และความฝืดลดลง โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยด้านความสามารถในการใช้งานข้อเข่าได้ดีกว่าอาสาสมัครที่มีภาวะเข่าเสื่อมในระยะ 3-4  และกลุ่มทดลองที่ได้รับหัตถการพอกเข่าจนครบ 5 ครั้ง จะมีคะแนนค่าเฉลี่ยแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มเลย


             ข้อเสนอแนะ ควรให้หัตถการพอกเข่าเป็นบริการสำหรับประชาชนกลุ่มที่มีอาการปวดข้อจากภาวะข้อเช่าเสื่อมหรือโรคลมจับโปงแห้งเข่าและมีความเสี่ยงต่อการใช้ยาแก้ปวด NSAIDs ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของไตหากใช้ยาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ควรเสนอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดให้หัตถการพอกเข่าเป็นชุดสิทธิประโยชน์สำหรับประชาชน และควรมีการพัฒนารูปแบบหรือนวัตกรรมที่มีความสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ด้วยตนเองที่บ้าน เช่น การทำเป็นแผ่นแปะ,เสปย์,หรือเจล

Article Details

บท
Original Articles

References

Nootim P, Chuenjai M, Sawangwong P, Pongchaichanon P, Rachderm A. Effectiveness of Herbal Steam Bath for Pain Relief in Patients with Lom Jab Pong Haeng Khao (Osteoarthritis of the Knee) Thai Traditional and

Integrated Medicine Hospital, Department of Thai Traditional

and Alternative Medicine. 2022;20(1):17-28. (in Thai)

Cui A, Li H, Wang D, Zhong J, Chen Y, Lu H. Global, regional prevalence, incidence, and risk factors of knee osteoarthritis in population-based studies. E Clinical Medicine. 2020; Dec 29-30.100597.

Inkaew C. The Effectiveness of Using the Program to Reduce Osteoarthritis Problems in the Elderly. Chang Sai Subdistrict Health Promoting Hospital, Kanchanadit District, Surat Thani Province. Regional 11 Medical Journal. 2019;33(2):293-302. (in Thai)

Poonsuk P, Songphasuk S, Jantha M, Nimpitakpong N, Jiraratsatit. Effective of Herbal Poultice for Knee Pain Relief in Patients with Osteoarthritis of Knee. Thammasat Medical Journal. 2018;18(1):104-111. (in Thai)

Wanna M, Khamphaeng M, Bunsit P, Phongsiphaladsai A, Suankul T, Tiabkham C, Samuhiran S. Effectiveness of Massage Combined with Herbal Compresses in Patients With Osteoarthritis. Muang Suang Hospital, Mueang Suang District, Roi Et Province. Koch Cha Sarn

Journal of Science. 2018;1(1):120-130. (in Thai)

Karaket S, Suyarat K, Jaidee P, Kasamek S, Promphao S, Praruang P. Comparative study of Pain level before and after Cool Herbal Mmud Treatment with Thai massage in Elderly with Knee pain. Chiang Rai Journal. 2017;9(2):115-124. (in Thai)

Pongporn P. Effective of Relieve Knee Pain used Thai Royal Massage Combined with Hot-Compressed Herbal Ball and Herbal Knee Poultice in Knee Pain Patients or Osteoarthritis, Si Prachan District, Suphanburi Province. The Journal of Boromararjonani College of Nursing,

Suphanburi. 2022;5(2):32-45. (in Thai)

Julius A. Steven. Sample Sizes for Clinical Trials. NY. CRC;2009.

Holland K. Stages of Osteoarthritis (OA) of the Knee. [Internet] 2023. [cited 2024 Jan 20]. Available from: https://www.healthline.com/health/osteoarthritis/

advanced-osteoarthritis#treatment

Thai Rheumatism Association. Osteoarthritis. [Internet] 2023. [cited 2024 Jan 20]. Available from: https://thairheumatology.org/phocadownload/36/Guideline_

pdf (in Thai)

Kupniratisaikul S. Anatomy of Knee. [Internet] [cited 2024 Jan 20]. Available from: http://ortho.md.chula.ac.th/student/SHEET/somsak/3016610.html (in Thai)

Ozaki Y, Kawahara N, Harada M. Anti-inflammatory effect of Zingiber cassumunar Roxb. And its active principles. Chem Pharm Bull. 1991;39(23):53–56.

Wong YF, Luo P, Ge L, Zhang ZF, Liu L, Zhou H. Anti-inflammatory, and analgesic effect plumbagin through inhibition of nuclear factor-kB activation. Journal of PharmacologyandExperimental Therapeutics. 2010;335(3):735-42.

Ali HB, Blunden G, Tanira OM, Nemmar A. Some phytochemical,

pharmacological and toxicological properties of ginger (Zingiberofficinale Roscoe): a review of recent research. Food and Chemical. 2008;45(2):409-420.

Altman DR, Marcussen CK. Effects of a ginger extract on knee pain in patients with osteoarthritis. National Library of Medicine. 2001 Nov;44(11):2531-8.

Asmawi MZ, Arafat OM, Amirin S, Eldeen IM. In vivo Antinociceptive Activity of Leaf Extract of Crinum asiaticum and Phytochemical Analysis of the Bioactive Fractions International and Journal of Pharmacology. 2011;7(4):125-129.

Wichit A. Absorption into the skin. [Internet] [cited 2022

Nov 10]. Available from: https://ccpe.pharmacycouncil. org/showfile.php?file=398%3B. (in Thai)

Damnoensawat W, Buntuchai G, Namboon S. Comparative study on the Effectiveness of Lampang Model Herbal Clay Knee Mask and standard Treatment for the Lom-Jab-Pong-Haeng-Khao signs. Journal of Thai

Traditional & Alternative Medicine. 2023;21(3): 543-556. (in Thai)

Juntaramano S, Swangareeruk J, Khunboonchan T. The Wisdom of Thai Indigenous Massage: Case study of 5 Indigenous Healers. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine. 2019;7(1): 26-41. (in Thai)