การตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีและทางเคมีกายภาพของใบกระท่อม

Main Article Content

Thanawat Thongchin
Peradhama Thiemthieprat
Sayan Ruengkhet
Sakwichai Ontong
Aussavashai Shuayprom
Siriwan Chaisomboonpan

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์: กระท่อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. วงศ์ Rubiaceae ใบกระท่อมมีสรรพคุณ ใช้ระงับอาการปวดท้อง แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย และระงับประสาท สมุนไพรนี้ยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพ ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางเคมีกายภาพของใบกระท่อม


วิธีการศึกษา: รวบรวมตัวอย่างใบกระท่อม จำนวน 17 ตัวอย่าง ที่เก็บจากหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย นำมาศึกษาโดยเปรียบเทียบกับตัวอย่างจริง 1 ตัวอย่างที่ได้รับมาจากห้องปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์พืช นำตัวอย่างใบกระท่อมมาตรวจสอบเบื้องต้นทางเคมีด้วยปฏิกิริยาการเกิดสี พิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธีโครมาโทกราฟีผิวบางและศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางเคมีกายภาพ


ผลการศึกษา: ผลการตรวจสอบเบื้องต้นทางเคมีด้วยปฏิกิริยาการเกิดสี พบว่าให้ผลบวกกับสารกลุ่มแอลคาลอยด์ (alkaloids) กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) และกลุ่มฟีนอลิก (phenolics) เมื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง (Thin Layer Chromatography) ตรวจพบสารไมทราไจนีน (mitragynine) ซึ่งเป็นสารกลุ่มแอลคาลอยด์ เมื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางเคมีกายภาพของใบกระท่อมแห้ง ได้แก่ ปริมาณความชื้นด้วยวิธี Loss on drying ปริมาณเถ้ารวม ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ปริมาณสิ่งสกัดด้วยน้ำ และปริมาณสิ่งสกัดในเอทานอล พบว่ามีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับร้อยละ 5.60 ± 0.68, 4.67 ± 0.37, 0.14 ± 0.02, 19.52 ± 1.68 และ 17.12 ± 2.81 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ


อภิปรายผล: การตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีและทางเคมีกายภาพ และการพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีของวัตถุดิบสมุนไพรใบกระท่อม มีประโยชน์ต่อการควบคุมคุณภาพทางเคมีให้เป็นไปตามเกณฑ์ในการควบคุมมาตรฐานยาสมุนไพรให้มีคุณภาพดีและมีความสม่ำเสมอ สามารถนำไปบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษานี้นำไปสู่การจัดทำมอโนกราฟ (monograph) ใบกระท่อม และสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานของใบกระท่อมแห้งในตำรามาตรฐานยาสมุนไพร เพื่อเป็นมาตรฐานอ้างอิงของประเทศต่อไป

Article Details

บท
Original Articles

References

เอกสารอ้างอิง

Boonyaprapat N, Chokchaicharoenporn O. Medicinal Plants indigenous to Thailand. Bangkok: Prachachon; 1996. 1(1): p. 54-55. (in Thai)

Wungsintaweekul J. Kratom [Internet]. Nonthaburi: Center for Continuing Pharmacy Education. The Pharmacy Council; [cited 2019 July 24]. Available from: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php? option=article_detail&subpage=article_detail&id= 251

Panyaphu D, Namkeard S, Inchai W, Yossathera K. Kratom: Herbal Medicine or Narcotic Drug. J Thai Trad Alt Med. 2016; 14(3): 242-56. (in Thai)

Field E.J. Mitragynine and mitraversine, two new alkaloids from species of Mitragyna. Transaction of the Chemical Society. 1921; 119: 887-891.

Hooper D. The anti-opium leaf. Pharmaceutical Journal. 1907; 78: 453.

Lee C.M., Trager W.F., Beckett A.H. Corynantheidine-type alkaloids- II: absolute configuration of mitragynine, speciociliatine, mitraciliatine and speciogynine. Tetrahedron. 1967; 23(1): 375-385.

Ponglux D, Wongseripipatana S, Takayama H, Kukuchi M, Kukihara M, Kitayama M, Aimi N and Sakai S. A new indole alkaloid, 7 alpha-hydroxy-7H-mitragynine, from Mitragyna speciosa in Thailand. Planta Med. 1994; 60: 580-581.

Farah Idayu, N. Taufik Hidayat, M. Moklas, M.A.M. Sharida, F. Nurul Raudzah, A.R. Shamina, A.R. Apryani E. Antidepressant-like effect of mitragynine isolated from Mitragyna speciosa Korth in mice model of depressant. Phytomedicine. 2011; 18(5): 402-407.

Osman ME, Ahmed EM, Eltohami MS. Preliminary phytochemical evaluation and seed proximate analysis of Surib (Sesbania leptocarpa DC.). Sudan JMS 2013; 8 (1): 29-34.

Department of Medical Sciences. Thai Herbal Pharmacopoeia. Volume II. Bangkok: Prachachon;2007.

Ahuja J, Suresh J, Deep A, Madhuri, Pratyusha, Ravi. Phytochemical screening of aerial parts of Artemisia parviflora Roxb.: A medicinal plant. Pharm Lett 2011; 3: 116-24.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai Herbal Pharmacopoeia. Volume I. The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited. 2016.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai Herbal Pharmacopoeia 2018. Bangkok: Keawjawjom Printing & Publishing SuanSunandhaRajabhat University; 2018.

Plant Research and Development Division. Inspection methods to control quality and standardization. In: Herbal Guide to Basic Public Health. Department of Medical Sciences, Bangkok. Text and Journal Corporation Co., Ltd., 1988, 17-9. (in Thai)

Evans W.C. Trease and Evans’ Pharmacognosy. 13th ed. London: ELBS, 1989. pp. 39-57, 127-9.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai Herbal Pharmacopoeia. Volume I. Bangkok: Prachachon Co. Ltd., 1995.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai Herbal Pharmacopoeia. Volume II. Bangkok: Prachachon Co. Ltd., 2000.

Dechatiwongse Na Ayudhya T, Jirawattanapong W. Standardization and quality control of herbs. Medicinal Plant Research Institute, Department of Medical Sciences, Nonthaburi, 2001: 1-25. (in Thai)

Drug Control Division, Food and Drug Administration. Guidelines for quality control of medicinal products from herbs. Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly Printing Company of Thailand Limited, 2005.