การพัฒนาน้ำ�มันอโรม่า “บาร์ตูนิต้า” เพื่อช่วยลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อ ส่วนล่างในกลุ่มเกษตรกร

Main Article Content

Nitinun Pongsiri
Paiya Suwanapet
Saowale Channgam
Udomkiat Poolsawat
Kittiporn Naosuwan

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์: โรคปวดตึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเป็นปัญหาทางการแพทย์ที่สำคัญ ผลกระทบของโรคจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มีต้นหินฟ้าแลบหรือต้นบาร์ตูนิต้า เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีขึ้นโดยทั่วไป อุดมไปด้วยสารประกอบทางเคมีที่สำคัญในการลดปวด และต้านการอักเสบ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนาน้ำมันอโรม่าที่มีส่วนผสมหลักคือใบบาร์ตูนิต้าขึ้นมาเพื่อช่วยลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างในกลุ่มเกษตรกร


วิธีการศึกษา: มีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์อาการปวดตึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 14 คน โดยใช้เครื่องมือข้อคำถามและจัดการอภิปรายกลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาน้ำมันอโรม่า บาร์ตูนิต้า โดยมีส่วนผสมจากสมุนไพร 8 ชนิด ขั้นตอนที่ 3 ประเมินประสิทธิผลเบื้องต้น และความพึงพอใจต่อการใช้น้ำมันอโรม่า บาร์ตูนิต้า โดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 27 คน วัดก่อนและหลังการทดลอง สำหรับการเปรียบเทียบระดับอาการปวดตึงก่อนและหลังการใช้น้ำมันอโรม่าวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบวิลคอกซันและประเมินความพึงพอใจโดยสถิติเชิงพรรณา


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.8 มีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อสาเหตุจากการประกอบอาชีพ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ รูปแบบเดิมที่เคยใช้ มีขนาดใหญ่ ใช้งานยาก ในการเปรียบเทียบระดับอาการปวดตึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง พบว่าอาการปวดหลังใช้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สำหรับความพึงพอใจด้านคุณลักษณะ และด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ อยูในระดับมาก และมากที่สุด ตามลำดับ


อภิปรายผล: จากการพัฒนาน้ำมันอโรม่า บาร์ตูนิต้า ประกอบด้วยสารสกัดสมุนไพรในตำรับ 8 ชนิด ประกอบด้วย ขิง กานพลู งาดำ น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูด น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส และน้ำมันมะพร้าว โดยเฉพาะส่วนประกอบสำคัญคือใบบาร์ตูนิต้า ที่เป็นพืชในวง ACANTHACEAE ซึ่งมีสรรพคุณสำคัญในการลดอาการปวดเมื่อย และช่วยลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อและต้านการอักเสบ อีกทั้งน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสก็มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวด และต้านการอักเสบ ดังนั้นเป็นไปได้ที่ว่าฤทธิ์ลดอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนล่างของน้ำมันอโรม่า บาร์ตูนิต้าน่าจะมาจากฤทธิ์ และองค์ประกอบทางเคมีของส่วนผสมทั้งหมดที่ใช้ในการสกัดน้ำมันอโรม่า บาร์ตูนิต้า


ข้อสรุป: น้ำมันอโรม่า บาร์ตูนิต้า อาจใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของกลุ่มคนที่มีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง อีกทั้งอาจใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปพัฒนาต่อยอดน้ำมันอโรม่าที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดตึงส่วนต่าง ๆ ได้ต่อไป

Article Details

บท
รายงานเบื้องต้น

References

Tonchoy P, Suta P. Ergonomic risk factors of musculoskeletal disorders among ethnical maize farmer groups, Chiang Rai Province. The Office of Disease Prevention and Control 7 Khon Kaen. 2019;1(27):27-39. (in Thai)

Chuppawa1 W, Turnbull N, Chada W, Sae-Ung K, Chooppava C. Prevalence and work posture factors in relation to musculoskeletal disorders among sewing farmers. Research and Development Health System Journal. 2022;1(15):17-27. (in Thai)

Department of Disease Control. Health surveillance system for occupational and environmental diseases; 2018. [cited 2023 May 1]. Available from: http://inenvocc. ddc.moph.go.th/envoccsmart/app/knowledge/detail/3. (in Thai)

Kinkade S. Evaluation and treatment of acute low back pain. American family physician. 2007;75(8):1181-8.

Vika R. Overview of Phytochemicals and Pharmacological Activity of Keji Beling Plant (Strobilanthes crispus Bl.). International Journal of Pharmaceutical Sciences and Medicine (IJPSM). 2021;6(7):25-39.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior research methods. 2007;39(2):175-91.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall; 2006.

Narongsak T, Chimnakboon N, Chaiyachat S. Associated factor of low back pain in personnel’s of somdet chaopraya institute of psychiatry. 2019;13(1):21-33. (in Thai)

Wongsa S. The prevalence of low back pain among Phayao hospital personnel. 2012:4(2):35-42. (in Thai)

Heneweer H, Staes F, Aufdemkampe G, van Rijn M, Vanhees L. Physical activity and low back pain: a systematic review of recent literature. European Spine Journal. 2011;20:826-45.

Dangdet P. Factors Affecting the Purchase Decision of Pain Relief Products Made from Herbs for Consumers in the Area Bangkok; 2016. [cited 2023 May 1]. Available from: http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2143/1/preyanuch_dang.pdf (in Thai)

Reamrimmadun W. Biodiversity and Local Wisdom of the Family Acanthaceae in Changwat Nakhon Ratchasima. Ratchaphruek Journal. 2557;8(3):160-6. (in Thai)

Kumar KS, Vijayan V, Bhaskar S, Krishnan K, Shalini V, Helen A. Anti-inflammatory potential of an ethyl acetate fraction isolated from Justicia gendarussa roots through inhibition of iNOS and COX-2 expression via NF-κB pathway. Cellular Immunology. 2012;272(2):283-9

Silva J, Abebe W, Sousa SM, Duarte VG, Machado MI, Matos FJ. Analgesic and anti-inflammatory effects of essential

oils of Eucalyptus. Journal of ethnopharmacology. 2003;89(2-3):277-83.