การควบคุมคุณภาพและการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำ�รับยาหม้อห้าราก

Main Article Content

ยุพาภรณ์ วิเชียร
นวพร พิมรัตน์
กริยาภา หลายรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์: ยาหม้อห้ารากเป็นตำรับยาที่ใช้เพื่อระบาย ถ่ายพิษไข้ แก้ไข้ที่มีพิษจัด จากตำราแพทย์ตำบล เล่ม 3 โดยที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตำรับยาหม้อห้ารากมาก่อน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมคุณภาพของสมุนไพร ตรวจหาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ปริมาณฟีนอลิกรวม ตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมี และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาหม้อห้าราก


วิธีการศึกษา: สกัดยาหม้อห้ารากด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด คือ น้ำ 70% เอทานอล และ 95% เอทานอล ควบคุมคุณภาพสมุนไพรโดยการหาปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้ารวม ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ตรวจสอบหาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น วิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิกรวม และทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, FRAP และ
ABTS


ผลการศึกษา: พบสารพฤกษเคมีกลุ่มอัลคาลอยด์ เทอร์พีนอยด์ แอนทราควิโนน และแทนนิน และยาหม้อห้ารากที่สกัดด้วย 70% เอทานอลมีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงที่สุด คือ 180.92 ± 3.46 มิลลิกรัมแกลลิก/กรัม สารสกัดรวมถึงมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH (EC50 = 7.28 ± 0.72 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) และ วิธี FRAP (306.81 ± 1.57 มิลลิกรัมโทรลอกซ์/กรัมสารสกัด และ 486.64 ± 2.49 มิลลิกรัมเฟอรัสซัลเฟต/กรัมสารสกัด) ดีที่สุด
เช่นกัน ส่วนสารสกัดยาหม้อห้ารากด้วยน้ำนั้นออกฤทธิ์ในการก􀄬ำจัดอนุมูลอิสระ ABTS+• ได้ดีที่สุด (EC50 = 19.84 ± 4.85 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) การตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยโครมาโตกราฟีแบบผิวบางพบสารทั้งหมด 17 แถบ


อภิปรายผล: สารสกัดยาหม้อห้ารากด้วยน้ำ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS ดีที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติของ ABTS ที่ละลายได้ดีในน้ำ ส่วนสารสกัดยาหม้อห้ารากด้วย 70% เอทานอล มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ดีที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติของ DPPH ที่ละลายได้ดีในเอทานอล


ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: ยาหม้อห้ารากที่ต้มกับน้ำซึ่งเป็นการเลียนแบบวิธีการทำยาแบบดั้งเดิมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และในอนาคตมีความจำเป็นในการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชอื่น ๆ รวมไปถึงศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีที่ระบุรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อพัฒนายาไปสู่การใช้ในการรักษาผู้ป่วยต่อไป

Article Details

บท
รายงานเบื้องต้น

References

Phrayaphad Pongsa Wisutthatipphadee (Sun Suntorawech). Phadtumbon III (fever). 1927. (in Thai)

Soradech S, Kusolkumbot P, & Thubthimthed S. Development and characterization of microemulsions containing Tiliacora triandra Diels as an active ingredient for antioxidant and melanogenesis stimulating activities. Journal of Applied Pharmaceutical Science. 2018;8(3):046-054.

Nutmakul T. Phytochemical and pharmacological activity of Tiliacora triandra (Colebr.) Diels. Songklanakarin Journal of Science & Technology. 2021;43(5).

Yadav RK, Nandy BC, Maity S, Sarkar S, Saha S. Phytochemistry, pharmacology, toxicology, and clinical trial of Ficus racemosa. Pharmacognosy Reviews. 2015;9(17):73.

Dechayont B, Phuaklee P, Chunthorng-Orn J, Juckmeta T, Prajuabjinda O, Jiraratsatit K. Antibacterial, antiinflammatory and antioxidant activities of Mahanintangtong and its constituent herbs, a formula used in Thai traditional medicine for treating pharyngitis. BMC Complementary Medicine and Therapies. 2021;21(1):1-12.

Jaiwal K, Thakur T, Mishra N, & Kumar A. Pharmacological approach of Terminalia arjuna: A review. Plant Cell Biotechnology and Molecular Biology. 2021;1-15.

Department of Medicine Science, Ministry of Public Health. Thai Herbal Pharmacopoeia 2020 volume I. Office of National Buddishm Press: Bangkok; 2020. (in Thai)

Soonthornchareonnon, N. Medicines and natural products Vols 1. 3rd ed. Bangkok: Sangtian Printing LTD; 2001.116-128.

Miliauskas G, Venskutonis PR, Van Beek TA. Screening of radical scavenging activity of some medicinal and aromatic plant extracts. Food Chemistry. 2004;85(2):231-7.

Liyana-Pathirana CM, Shahidi F. Antioxidant activity of commercial soft and hard wheat (Triticum aestivum L.) as affected by gastric pH conditions. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 2005;53(7):2433-40.

Thaipong, K, Boonprakob U, Crosby K, Cisneros-Zevallos L, Byrne DH. Comparison of ABTS, DPPH, FRAP, and ORAC assays for estimating antioxidant activity from guava fruit extracts. Journal of Food Composition and Analysis. 2006;19(6-7):669-75.

Oyedemi SO, Bradley G. Afolayan AJ. In-vitro and -vivo antioxidant activities of aqueous extract of Strychnos henningsii Gilg. African Journal of Pharmacy and Pharmacology. 2010;4(2):70-8.