การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องการนวดเท้า

Main Article Content

นิติรัตน์ มีกาย
Duangjan Sarakot
Paweesuda Punpeng
Kanoknan Lasongmuang

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันการเรียนการสอนเรื่องการนวดเท้าได้มีบรรจุสอนไว้ในสถาบันศึกษาต่าง ๆ ที่มีการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนไทยจากเหตุผลข้างต้นท􀄬ำให้คณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาสื่อเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องการนวดเท้า เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดความสนใจในการเรียนรู้และเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์การนวดเท้ามากยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องการนวดเท้า 2) เพื่อประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องการนวดเท้า


วิธีการศึกษา: คณะผู้วิจัยทำการทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์เนื้อหาจากหนังสือการเรียนเรื่องการนวดเท้าเพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องการนวดเท้าคณะผู้วิจัยทำการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน ที่มีความรู้และเป็นอาจารย์ที่สอนในเรื่องการนวดเท้าเมื่อได้ผลประเมินคณะผู้วิจัยทำการปรับปรุงตามคำแนะนำ ของผู้ทรงคุณวุฒิสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน


ผลการศึกษา: ผลประเมินคุณภาพพบว่า ผลรวมอยู่ในระดับดี (x = 4.09, S.D. = 0.95) ด้านที่มีผลการประเมิน
มากที่สุดคือ ด้านประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี (x = 4.45, S.D. =0.75) รองลงมาด้านภาษาอยู่ในระดับดี (x = 4.33, S.D. = 0.55) ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (x = 3.87, S.D. = 1.51) และด้านภาพและวิดีโออยู่ในระดับดี (x = 4.73, S.D. = 1.01) ตามลำดับ


อภิปรายผล: จากผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องการนวดเท้า จะเป็นแนวทางให้กับการพัฒนาด้านการสอนในหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต หรือการศึกษาด้านศาสตร์การแพทย์แผนไทยข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: จากตรวจสอบคุณภาพพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยจากผลการประเมินความสมบูรณ์ของสื่อนี้ใน 4 ด้าน ได้แก่ เนื้อหา ภาษา ภาพและวิดีโอ และประสิทธิภาพ ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีหนังสืออาจเป็นแนวทางให้กับการพัฒนาด้านการสอนในหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตหรือการศึกษาด้านศาสตร์การแพทย์แผนไทยเนื่องจากปัจจุบันเอกสารการสอน หนังสือ ตำรา ยังเป็นเอกสารที่ใช้มานานเนื้อหาหรือคำบางคำยังเป็นภาษาในยุคเก่าซึ่งอาจไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ จึงควรมีการพัฒนาตำรา สื่อการเรียนการสอน เอกสารการสอนให้มีภาพ เสียง วิดีโอ และข้อความที่ทันสมัยเป็นไปตามสังคมยุคปัจจุบัน

Article Details

บท
Original Articles

References

Promwachirayan Institute Thai-Chinese Traditional Medicine Clinic. Foot Reflexology. Retrieved November 2, 2022. from the website https://www.promwachirayan.org/th. (in Thai).

Wat Phra Chetuphon Traditional Massage School (Wat Pho). Handbook of foot massage. Publisher Wat Po Thai Traditional Massage School (2000). (in Thai).

Saengnapha Baramee and Thayawee Chantarawiwat. The effect of the use of electronic books (E-book) on psychiatric drug groups on 3rd year bachelor's degree nursing students, Boromarajonani College of Nursing Nakhon Ratchasima. Journal of Health Research and Development. Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office. 7(2), 184-195. (2021). (in Thai).

Sophida Tuammee. Development of e-Learning Media in Engineering Management and Technology for students of King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Graduate Studies Journal Valaya Alongkorn Rajabhat University under the royal patronage 10(3), 194-195. (2016). (in Thai).

Aksorn Sawasdee.Understanding And awareness of environmental conservation of upper secondary school students: a case study of Bangkapi District Bangkok. Master's Degree in Management Development (Social Development). Bangkok: National Institute of Development Administration. (1999) . (in Thai).

Pannipa Sungsikaew and Apicha Daengjamrun. The development of learning achievement through books. Electronic (E-book) about money and income and expenses records for grade 12 students 3. National Academic Conference “Resource Development into the Digital Economy and Society Era”. Year 2020: North Bangkok University. (2020). (in Thai).

Siriphat Muangkaew and Kulsirin Apirat Woradet. The development of an e-book, an e-book, a course on neighboring languages and cultures (Chinese) for first-year students Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Chiang Mai University.2(1).18-30. (2018). (in Thai).

Wilai Chintanate, Thanwa Tansathit and Monkan Tansathit. Human Anatomy. 22nd edition. Bangkok: Fuengfah Printing House. (1996). (in Thai).

Jarussom Panbutr. The Development of Electronic Books (E-Book) to Develop Thai Reading Aloud Skills of Prathomsuksa 6 Students at Ban Nong Khed School. Veridian E-Journa. 7(3).184. (2014). (in Thai).

Adisak Khotchum. Development of video media to accompany learning in the occupational and technology academic report on garden arrangement and decoration. Grade 2. Journal of Computer Science and Information Technology Project.5(2),73. (2019). (in Thai).

Narudee Sanguanpunyasira. The results of using interactive e-books. Ecology of Mathayomsuksa 3 students. Master of Arts thesis. Program in Information Science for Education, plan A, type A 2, master's degree level graduate school Silpakorn University Retrieved from http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3426/1/60902301.pdf. (2020). (in Thai).

Waewwilai Jumpasak. Electronic book development. Classifier for learning Thai subjects for students in grade 3. Master's degree thesis. Naresuan University. (2017). (in Thai).