การรวบรวมองค์ความรู้ในการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยหลักการ แพทย์พื้นบ้านของหมอพื้นบ้าน 4 ภาคของไทย

Main Article Content

Assoc. Prof.Nuanjan Jaiarree, Ph.D.
Saovapak Poomirat
Asst. Prof.Pannawat Chaiyawatthanananthn, Ph.D.
Phiyaphon Poonsuk

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์: การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ รวบรวม องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดของหมอพื้นบ้าน 4 ภาค


วิธีการศึกษา: ใช้แบบสัมภาษณ์รวบรวมข้อมูลจากหมอพื้นบ้านที่เชี่ยวชาญด้านผดุงครรภ์ กำหนดเขตตามวัฒนธรรม 4 ภาค รวมทั้งหมด 18 คน แบ่งเป็นภาคอีสาน 6 คน ภาคใต้ 4 คน ภาคเหนือ 5 คน ภาคกลาง 3 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากบัญชีรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนหมอพื้นบ้าน


ผลการศึกษา: พบว่าหมอยาพื้นบ้าน มีทั้งเพศหญิง 10 คน (55.56%) และเพศชาย 8 คน (44.44%) หมอพื้นบ้านทั้งหมดอยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีประสบการณ์รักษามากกว่า 10ปี และปัจจุบันยังคงรับรักษาสตรีหลังคลอดอยู่ สมุนไพรที่ใช้เป็นยาตำรับทั้งหมด  ร้อยละ 88.89 ของหมอพื้นบ้านได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากบรรพบุรุษของหมอพื้นบ้านเอง หมอพื้นบ้านไม่มีระบบในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เน้นถามเรื่องอาหารแสลงและพฤติกรรมก่อโรค แบ่งหมอพื้นบ้านตามกลุ่มการรักษาได้ 3 กลุ่ม 1) กลุ่มที่เน้นการจ่ายยาสมุนไพรเพิ่มน้ำนมเป็นหลัก 2) กลุ่มที่เน้นการรักษาอาการและโรคหลังคลอด 3) กลุ่มที่เน้นตำรับยาและกิจกรรมในการอยู่ไฟ งานวิจัยนี้ได้พบตำรับยาจากหมอพื้นบ้านจาก 4 ภาค ทั้งหมด 45 ตำรับแบ่งเป็น ตำรับเพิ่มน้ำนม 10 ตำรับ ตำรับ เพื่อการรักษาโรคและอาการ 21 ตำรับ ตำรับที่เกี่ยวกับการอยู่ไฟหลังคลอด14 ตำรับ


อภิปรายผล: สมุนไพรเดี่ยวที่หมอพื้นบ้านนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของตำรับยาเพิ่มน้ำนมและมีค่าการใช้พืชสมุนไพร (Use value; UV) สูง ได้แก่ ฝาง นมวัว ขิง รากนมนาง และดอกบุนนาคนั้น พบงานวิจัยว่ามีฤทธิ์ส่งเสริมการเพิ่มน้ำนมในมารดาหลังคลอด ผ่านฤทธิ์ Estrogenic Activity ฤทธิ์เพิ่มโฮรโมนโปรแลคติน ส่วนสมุนไพรเดี่ยวที่หมอพื้นบ้านนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของตำรับยารักษาโรคและอาการหลังคลอด โดยสมุนไพรที่มีค่าการใช้พืชสมุนไพร (Use value; UV) สูง ได้แก่ ไพล กระเทียม ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ เปล้าใหญ่ ขมิ้นชัน ว่านชักมดลูก พบผลวิจัยว่า มีฤทธิ์ส่งเสริมการหายของโรคผ่านฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยการออกฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ cyclooxygenase ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งปากมดลูกดี แต่ยังคงมีความปลอดภัยต่อเซลล์ปกติ ส่วนสมุนไพรส่วนเดี่ยวที่หมอพื้นบ้านนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาอยู่ไฟและกิจกรรมอยู่ไฟและมีค่าการใช้พืชสมุนไพร (UV) สูงได้แก่ ไพล เปล้าใหญ่ ขมิ้นชัน ใบหนาด ว่านนางคำ นั้น ศึกษาพบผลวิจัยว่ามีฤทธิ์ส่งเสริม ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสตรีหลังคลอดผ่านฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory activity) ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant activity)


สรุปและข้อเสนอแนะ สมุนไพรที่หมอพื้นบ้านใช้นั้นมีความสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์จึงเห็นสมควรมีการศึกษาวิจัยต่อยอดในรูปตำรับยาทั้งในห้องปฏิบัติการ งานวิจัยทางคลินิกเพื่อนำมาพัฒนาเป็นยาสมุนไพรเพื่อดูแลสตรีหลังคลอดต่อไป

Article Details

บท
Original Articles

References

Parry BL, Sorenson DL, Meliska CJ, Basavaraj N, Zirpoli GG, Gamst A, Hauger R. Hormonal basis of mood and postpartum disorders. Current Women's Health Reports. 2003, 3(3):230-235. PMID: 12734034.

Leduc D, Senikas V, Lalonde AB. CLINICAL PRACTICE OBSTETRICS COMMITTEE.

Active management of the third stage of labour: prevention and treatment of postpartum hemorrhage. Journal of Obstetrics and Gynaecology Canada. 2009, 31(10): 980-993. DOI: 10.1016/S1701-2163(16)34329-8

Borders N. After the afterbirth: a critical review of postpartum health relative to method of delivery. Journal of midwifery & women's health. 2006, 51(4): 242-248. DOI: 10.1016/j.jmwh.2005.10.014

Polit DF, Beck CT. Nursing research: Principles and methods. Philadelphia: Lippincott

Williams and Wilkins. 2003.

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. Outstanding National Honorable

Thai Traditional Medical Doctor [Internet]. 2022 [cited 2023 Feb 22]. Available from: https://www.thailandplus.tv/archives/565066 (In Thai)

Jaiarree N, Roekruangrit N, Itharat A, Wanichsetakul P, Poomirat S. The efficacy of

steamed ginger extract versus placebo for pain relief at the perineum and uterus in first normal postpartum women. Journal of the Medical Association of Thailand. 2023, 106 (4): 334-40. DOI: 10.35755/jmedassocthai.2023.04.13831. ISSN: 0125-2208

Jaiarree N. Applied Thai traditional medicine for Pre-pregnancy, Antepartum care,

Intrapartum care and Postpartum care. Thammasat printing house. 2018.

Inta A, Trisonthi P, Trisonthi C. Analysis of traditional knowledge in medicinal plants used by Yuan in Thailand. Journal of Ethnopharmacology. 2013, 26; 149(1): 344-51. DOI: 10.1016/j.jep.2013.06.047

Rattanapunya S, Sumsakul W, Bunsongthae A, and Jaitia S. In vitro antioxidants and

anticancer activity of crude extract isolates from Euphorbiaceae in Northern Thailand. Thai Journal of Pharmaceutical Sciences. 2021, 45(5):394-399. E-ISSN: 1905-4637

Roekruangrit N, Jaiarree N, Itharat A, Wanichsetakul P, Panthong S, Makchuchit S, &

Poomirat, S. Comparative Study on Biological Activities of Steamed and Non - Steamed Ginger Extracts. Science & Technology Asia. 2019, 24(4): 94–101. DOI: 10.14456/scitechasia.2019.30

Echeverria V, Echeverria F, Barreto GE, Echeverría J, Mendoza C. Estrogenic Plants: to

Prevent Neurodegeneration and Memory Loss and Other Symptoms in Women After Menopause. Front Pharmacol. 2021, 20; 12: 644103. DOI:10.3389/fphar.2021.644103

Poomirat, S., Jaiarree, N., Itharat, A., & Ruangnoo, S. Cytotoxicity against Cervical and

Breast Cancer Cells of Leard-Ngam Remedy and Its Plant Compositions. Science & Technology Asia. 2020; 25(3), 38-50

Feng H, He Y, La L, Hou C, Song L, Yang Q, Wu F, Liu W, Hou L, Li Y, Wang C, Li Y. The flavonoid-enriched extract from the root of Smilax china L. inhibits inflammatory responses via the TLR-4-mediated signaling pathway. Journal of Ethnopharmacology. 2020, 28; 256:112785. DOI: 10.1016/j.jep.2020.112785

Kiemer AK, Hartung T, Huber C, Vollmar AM. Phyllanthus amarus has anti-inflammatory potential by inhibition of iNOS, COX-2, and cytokines via the NF-KB pathway. Journal of Hepatology. 2003, 38:289–97. DOI: 10.1016/S0168-8278(02)00417-8

Kamonwannasit S, Prajanban B, Kamcharoen A, Srimee P. Anti-inflammatory and anti-oxidative activities of Stephania pierrei extracts. HCU Journal of Health Science. 2022, 30 ;26(1):25-34.

Kumar A, Chomwal R, Kumar P, Sawal R. Anti-inflammatory and wound healing activity of Curcuma aromatica salisb extract and its formulation. Journal of Chemical and Pharmaceutical Research. 2009, 1(1): 304-310. ISSN (Print): 0975-7384

Sumungkaset A and Nantasri C. Knowledge and wisdom of folk healers in Namon district, Kalasin Province. Journal of the Thai Library Association. 2016, 9(2) (In Thai).

Chuntum K and Kamlangluea K. Treatment with herbs and the ancient recipe of traditional medicine. Journal of Medicine Health Sciences. 2017, 24 (2). ISSN: 0859-3299 (In Thai).

Sakulphom S, Santipab P, Jayathavaj V, Chantraket R, Silawan T.Thai Folk Medicine for Postpartum Care in Nakhon Si Thammarat Province. Thai Journal of Health Education 2020, 43(2). E-ISSN: 2697-5734 (In Thai)