ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มีอาการชาเท้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกายโดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในปัจจุบันมีการใช้ยาสมุนไพรสำหรับดูแลภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ทั้งนี้ยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในสูตรตำรับยาลูกประคบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอาการชาเท้ามาก่อน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในสูตรตำรับยาลูกประคบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอาการชาเท้า 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรอุ่นและกลุ่มควบคุมได้รับการแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นที่ไม่มีสมุนไพร โดยทั้งสองกลุ่มแช่เท้าในขณะที่น้ำมีอุณหภูมิ 38-40° ด้วยตนเองที่บ้าน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลาในการแช่เท้าครั้งละ10 นาที เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 12 ครั้ง ประเมินประสิทธิผลโดยการประเมินความรู้สึกของเท้าเพื่อหาจุดรับความรู้สึกที่ผิดปกติ ด้วย monofilament 10 g. และประเมินความปลอดภัยด้วยการวัดอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าโดยใช้กล้องอินฟราเรด ถ่ายภาพบริเวณหลังเท้าและฝ่าเท้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ paired sample t-test และความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ independent t-test ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองภายในกลุ่มแช่เท้าสมุนไพรจุดรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติ (ข้างซ้าย) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มแช่เท้าไม่มีสมุนไพร และจุดรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติ (ข้างขวา) ภายในกลุ่มทั้งสองกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างกลุ่มแช่เท้าด้วยสมุนไพรกับกลุ่มแช่เท้าไม่มีสมุนไพร ในขณะที่อุณหภูมิบริเวณเท้าเพิ่มขึ้นทั้งสองข้างและทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มแช่เท้าสมุนไพรและกลุ่มแช่เท้าไม่มีสมุนไพร ดังนั้น การแช่เท้าสมุนไพรด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 38-40°ซ ช่วยลดจุดที่ไม่รับความรู้สึกบริเวณเท้าและมีความปลอดภัย ทั้งนี้สำหรับการแช่เท้าไม่มีสมุนไพรด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 38-40°ซ สามารถทำได้และมีความปลอดภัยเช่นกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
International Diabetes Federation. IDF Diabetes ATLAS Eighth edition 2017. Bruxelles: Karakas Print; 2018.
Diabetes Association of Thailand under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Clinical practice guide line 2017. Bangkok: Romye media company; 2018. (in Thai)
Bakker K, Apelqvist J, Schaper NC. Practical guidelines on the management and prevention of the diabetic foot 2011. Diabetes Metab Res Rev. 2012;28(Suppl 1):225–31.
Deerochanawong C, Ferrario A. Diabetes management in Thailand: a literature review of the burden, costs, and outcomes. Global health. 2013;9:1-18.
Wang E, Wylie-Rosett J. Review of selected Chinese herbal medicines in the treatment of type 2 diabetes. Diabetes Educ. 2008;34(4):645-54.
Raksamat W, Thongon P. Effectiveness of a herbal compression bag stepping technique and a feet soaking in herbal water technique on feet numbness symptoms in diabetes patients at Phu Luang Hospital, Phu Luang District, Loei. Thai Journal of Public Health and Health Sciences. 2020;3(1):13-27. (in Thai)
Saeki Y, Nagai N, Hishinuma M. Effects of footbathing on automic nerve and immune function. Complement Ther Clin Pract. 2007;13(3):158-65.
Janchai S. Diabetic foot care: prevention of lower extremity amputation. Chula Medicine Journal. 2005;49(3):173-88. (in Thai)
Phuyorit P. Effect of foot reflexology on numbness and foot pressure in person with type 2 diabetes. Bangkok: Mahidol university, 2010. (in Thai)
Wiriyawarothai W, Aunprasertpongnitcharot L, Putwatthana P, Ratsarn C. Effect of foot reflexology by village health volunteers on glycemic control, loss of sensation, and foot pressure with type 2 diabetes. The 23nd National Graduate Research Conference; 2011 Dec 23-24; Rajamangala University of Technology Isan. p. 269-75. (in Thai)
Academic Development of Thai Traditional Medicine and Herbs, Institute of Thai Traditional Medicine. List of herbal medicines 2012. 2nd ed. Bangkok: Bureau of Works of the War Veterans Organization under the Royal Patronage of His Majesty the King printing; 2013. (in Thai)
Sawatdichai C, Aimaeam S. Review of research on Thai traditional medicine and Thai herbs. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center. 2016;33(3):265-70. (in Thai)
Chaiyawatthanananthn P, Dechayont B, Phuaklee P, Ruangnoo S, Chunthorng-Orn J. Anti-inflammatory and pain-relieving activities of medicinal herbs used for hot salt pot compression. J Thai Trad Alt Med. 2020;18(3):455-69. (in Thai)
Vibulchai N, Srikaew S, Menasantiruk1 A, Kumsiriruk N. Pain assessment of diabetic neuropathy among diabetic patients. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2017;4:S292-304. (in Thai)
Jaiban S, Ruangpuk S, Saetang N. The suitability of time for applied hot pack, Physiotherapy Department, Hua Hin Hospital. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal. 2016;1(2):66-77. (in Thai)
Honnonprai T, Phrompittayarat W, Kanokthet T. Effect of foot care program with herb to the behavior and numbness in feet among diabetic patients in Zai-Thong Community Hospital, Kampengphet. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 2020;12(2):162-75. (in Thai)