คุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของเครื่องยากระชาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของเครื่องยากระชายซึ่งได้จากส่วนรากและเหง้าของกระชาย (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อกำหนดคุณภาพของเครื่องยากระชาย เนื่องจากยังไม่มีเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการควบคุมคุณภาพสมุนไพรชนิดนี้ในตำรายามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ซึ่งเป็นมาตรฐานสมุนไพรของประเทศ ได้ทำการรวบรวมตัวอย่างเครื่องยากระชาย จำนวน 17 ตัวอย่าง ระหว่างกันยายน 2557-มกราคม 2560 พัฒนาวิธีการตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีและศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ พบว่า สารสกัดเมทานอลจากเครื่องยากระชายให้ผลบวกกับ Shinoda’s test และพบสารพิโนสโตรบินเมื่อตรวจด้วยวิธีรงคเลขผิวบางบน silica gel 60 เมื่อใช้ส่วนผสมไดคลอโรมีเทนและเมทานอล (70:1) เป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ ปริมาณความชื้นและน้ำมันระเหยง่าย มีค่าเท่ากับร้อยละ 7.83 ± 0.96 และ 2.11 ± 0.43 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณเถ้ารวม ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 และปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ มีค่าเท่ากับร้อยละ 6.68 ± 0.88, 1.20 ± 0.73, 12.63 ± 4.31, 15.78 ± 2.54 และ 17.63 ± 3.35 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ข้อกำหนดคุณภาพของเครื่องยากระชายสรุปได้ดังนี้ การตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีด้วย Shinoda’s test ต้องพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ รงคเลขผิวบางต้องพบสารพิโนสโตรบิน ปริมาณความชื้น ไม่เกินร้อยละ 9 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ปริมาณเถ้ารวมและปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกินร้อยละ 7 และ 1 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 และปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 11, 14 และ 16 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ผลการศึกษานี้จะเสนอบรรจุเป็นมอนอกราฟในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยเพื่อใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงของประเทศต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Office of the Royal Society. Royal Institute Dictionary 2011. Bangkok: Siriwattana Interprint Co. Ltd.; 2013. p. 28. (in Thai)
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. Monographs of Selected Thai Materia Medica Volume 2. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Co., Ltd.; 2015. p. 21-5. (in Thai)
National List of Essential Medicines B.E. 2019. Published in Government Gazette, Vol. 124, Part 95D. (2019 April 17). (in Thai)
Pattamadilok D, Sakpetch A. Isolation of pinostrobin, a chemical marker from fingerroots for quality control purposes. J Thai Trad and Alt Med. 2021;19(2):424-34. (in Thai)
Kanjanasiritat P, Suksatu A, Manopwisedjaroen S, Munyoo B, Tuchinda P, Jearawuttanakul K, Seemakhan S, Charoensutthivarakul S, Wongtrakoongate P, Rangkasenee N, Pitiporn S, Waranuch N, Chabang N, Khemawoot P, Sa-ngiamsuntorn K, Pewkliang Y, Thongsri P, Chutipongtanate S, Hongeng S, Borwornpinyo S, Thitithanyanont A. High-content screening of Thai medicinal plants reveals Boesenbergia rotunda extract and its component panduratin A as anti-SAR-CoV-2 agents. Sci Rep [Open Access] 2020;10(19963). doi: 10.1038/s41598-020-77003-3.
Shaikh JR, Patil MK. Qualitative tests for preliminary phytochemical screening: an overview. Int J Chem Stud. 2020;8(2):603-8. doi: 10.22271/chemi.2020.v8.i2i.8834.
World Health Organization. Quality Control Method for Herbal Materials. Geneva: WHO Press; 2011. 173 p.