การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับกลีบบัวแดงในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความผิดปกติของการนอนหลับ (insomnia) เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นภัย
คุกคามชีวิต และคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลกที่พึงต้องตระหนักและทำความเข้าใจโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ได้รับตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน “กลีบบัวแดง” มาใช้รักษาภาวะการนอนไม่หลับตั้งแต่ปี2560 โดยตำรับกลีบบัวแดง
ประกอบด้วย กลีบบัวหลวงสีแดง บัวบก และพริกไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความ
ปลอดภัยของตำรับกลีบบัวแดงในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ ที่มารับการรักษาที่กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการ
แพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 – 1กุมภาพันธ์ 2563 โดยทำการ
ศึกษาในผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 50 คน อายุเฉลี่ย 48.48 ± 14.31 ปีและมีค่าคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) มากกว่า 5
คะแนนขึ้นไป ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยรับประทานแคปซูลกลีบบัวแดง ครั้งละ 2 แคปซูล (ขนาด 400 มิลลิกรัม/แคปซูล)
วันละ 2 ครั้งก่อนอาหารเช้าและเย็น เป็นเวลาต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ผลการศึกษาพบว่าก่อนเริ่มรับประทานตำรับกลีบ
บัวแดงผู้เข้าร่วมวิจัยมีค่า PSQI เฉลี่ย12.22 ± 3.12เมื่อรับประทานตำรับกลีบบัวแดงแล้วพบว่าค่าเฉลี่ย PSQI เท่ากับ
8.66 ± 3.23, 7.12 ± 3.04, 6.06 ± 2.75 และ 5.30 ± 2.61 ในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ย PSQI
ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตั้งแต่สัปดาห์แรกของการรับประทานตำรับกลีบบัวแดง (p < 0.01) ส่วนการเกิด
อาการไม่พึงประสงค์จากการรับประทานตำรับกลีบบัวแดง พบว่ามี 9 ราย ใน 3 สัปดาห์แรกและลดลงเหลือ 5 ราย
ในสัปดาห์ที่ 4 โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย, อาการหน้ามืด/วิงเวียน, ความดันโลหิตต่ำ , ท้อง
ผูกและร้อนท้องจึงสรุปได้ว่า ตำรับกลีบบัวแดงทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยมีคุณภาพในการนอนหลับดีขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรก
ที่ได้รับยาและมีความปลอดภัยดีถึงแม้ผู้เข้าร่วมวิจัยจะพบอาการไม่พึงประสงค์แต่ไม่รุนแรงอย่างไรก็ดีควรติดตาม
ผลการใช้ยาต่อเนื่องนานกว่านี้ เพื่อดูประสิทธิผลของตำรับกลีบบัวแดงว่าสามารถทำ ให้ค่าPSQIลดลงจนต่ำกว่า 5
ซึ่งเป็นค่าที่แสดงคุณภาพการนอนที่ดีได้หรือไม่
Article Details
References
Chaiarj S, Panya P. Insomnia and related factors. The Thai Journal of Nursing Council. 2005;20(2):1-12. (in Thai)
Schwartz S, McDowell Anderson W, ColeSR, Cornoni-Huntley J, Hays JC, Blazer D. Insomnia and heart
disease: a review of epidemiologic studies. Journal of Psychosomatic Research. 1999;47(4):313-33.
Ford DE, Kamerow DB. Epidemiologic study of sleep disturbances and psychiatric disorders. Anopportunity for prevention. Journal of American Medical Association. 1989;262(11):1479-84.
Léger D, Guilleminault C, Bader G, Lévy E, Paillard M. Medicalandsocio-professional impactof insomnia.
Sleep. 2002;25(6):625-9.
Mortin CM, Culbert JP, Schwortz SM. Nonpharmacological interventions for insomnia: A meta analysis of treatment efficacy. American Journal of Psychiatry. 1994;151(8):1772-80.
Cheng C, WaiwutP,PlekratokeK, ChulikhitY, Daodee S , Monthakantirat O, Pitiporn S, Musigavong N,
Kwankhao P,Boonyarat C. Multi target activities of Kleeb Bua Daeng, a Thai traditional herbal formula, against
alzheimer’sdisease.Pharmaceuticals. 2020;13(5):E79.
Maneenet J, Daodee S, Monthakantirat O, Boonyarat C, Khamphukdee C, Kwankhao P, Pitiporn S, Awale S, Chulikhit Y, Kijjoa A. Kleeb Bua Daeng, a Thai traditional herbal formula, ameliorated unpredictable chronic mild stress-induced cognitive impairment in ICR mice. Molecules. 2019;24(24):4587.
Rasch B, Born J. About sleep’s rolein memory.Physiological Reviews. 2013;93(2):681-766.
Jirapramukpitak T, Tanchaiswad W. Sleep disturbances among nurses of Songklanagarind Hospital. Journal of the Medical Association of Thailand.1994;42:122-31. (in Thai)
Foundation for Restoring and Promoting Thai Traditional Medicine and Ayurveda Dhamrong School, Siriraj Applied Thai Traditional Medicine, Mahidol University. The original Thai medical textbook Volume 1. (Phaetsatsongkhro Classical Thai traditional medical textbook) Volume 1Revised Version B.E. 2550 on the occasion of The Celebration son the Auspicious of His Majesty the King Bhumibol Adulyadej The Great s 80th Birthday Anniversary. Bangkok: Supawanich Publishing; 2007. (inThai)
Awad R, Arnason JT, Trudeau V, Bergeron C, Budzinski JW, Foster BC, Merali Z. Phytochemical andbiological analysis of skullcap (Scutellaria lateriflora L.): A medicinal plant with anxiolytic properties. Phytomedicine. 2003;10(8):640-9.
Spielman AJ. Assessmentof insomnia. Clinical Psychology Review. 1986;6(1):11-25