Quality evaluation of the exsiccated alum

Main Article Content

Supattra Runagsimakan
Ampai Phrutivorapongkul

บทคัดย่อ

สารส้มเป็นเครื่องยาธาตุวัตถุที่นิยมนำมาใช้เป็นยามีองค์ประกอบทางเคมี 2 ชนิด ได้แก่ สารส้มโพแทชหรือโพแทชอะลัม (potash alum) และสารส้มแอมโมเนียมหรือแอมโมเนียมอะลัม (ammonium alum) มีฤทธิ์ฝาดสมาน มีสรรพคุณในการใช้ทั้งภายนอกและภายใน โดยสารส้มที่เป็นส่วนประกอบในตำรับยาแผนไทยต้องนำมาสะตุก่อนนำมาปรุงยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของสารส้มสะตุที่นำมาสะตุด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิม และเพื่อวิเคราะห์ชนิดของสารส้มว่าเป็นชนิดใด โดยใช้เทคนิคทางเคมี ผลการศึกษาคุณภาพทางเคมีของสารส้มสะตุพบว่าสารส้มที่นำมาสะตุเป็นสารส้มแอมโมเนียม และเมื่อสะตุแล้วพบว่ามีปริมาณเกลือแอมโมเนียม ปริมาณสารที่ไม่ละลายน้ำ ปริมาณอะลูมินา ปริมาณเหล็ก ปริมาณสารหนู ปริมาณทองแดง ปริมาณสังกะสี และปริมาณแคลเซียม สูงขึ้นกว่าสารส้มที่ยังไม่สะตุ สารส้มและสารส้มสะตุมีความเป็นกรดโดยมีค่า pH เท่ากับ 3.47 และ 3.54 ตามลำดับ ผลการสะตุสารส้มพบว่าสารส้มที่สะตุแล้วมีน้ำหนักที่หายไปคิดเป็นร้อยละ 53.65 ± 0.55 (n = 18) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าการสะตุทำให้ปริมาณน้ำในโมเลกุลหายไป ทำให้ผลวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ช่วยสนับสนุนภูมิปัญญาไทยในการนำสารส้มสะตุมาเข้าตำรับยา และมีกรรมวิธีการสะตุสารส้มก่อนนำมาปรุงยา นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าสารส้มสะตุที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีค่าการวิเคราะห์ทางเคมีใกล้เคียงกับสารส้มที่ยังไม่ได้สะตุ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการสะตุไม่สมบูรณ์ หรือการเก็บรักษาสารส้มสะตุที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเก็บในภาชนะปิดสนิทและป้องกันความชื้น

Article Details

บท
Original Articles

References

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health. Monographs of Selected

Thai Materia Medica. Vol 2. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited; 2015. p. 277-

(in Thai)

The Royal Society Dictionary B.E. 2554. [cited 2020 May 12]. Available from: http://www.royin.go.th/dictionary/

index.php

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health. The Dictionary of Thai

Traditional Medicine Vocabulary (Royal Society). 4th ed. Nonthaburi: The Agricultural Cooperative Federation of

Thailand Limited; 2558. p. 435 (in Thai)

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health. National Thai Traditional

medicine Formulary (2018 edition). Bangkok: Samcharoen Panich (Bangkok) Co., Ltd.; 2018. p. 210. (in Thai)

The Merck Index. 15th ed. Cambridge: The Royal Society of Chemistry; 2013. P. 61, 64.

Ministry of Industry. Thai Industrial Standard 165-2554. Aluminium sulphate, Potash Alum and Ammonium

Alum. [cited 2020 May 12]. Available from: http://www.fio.co.th/web/tisi_fio/fulltext/TIS165-2554.pdf

United States Pharmacopoeia. 43th ed. Rockville (MD): The United States Pharmacopeial Convention; 2020. P.

-6.

The Japanese Pharmacopoeia. 17th ed. The Ministry of Health, Labour and Welfare; 2016. p. 403.

Pharmacopoeia of the People’s Republic of China. Vol. 1. Beijing: China Medical Science Press; 2015. p. 29-30.

British Pharmacopoeia. London: The Stationary Office; 2019. p. I-118.